October 9, 2024
ในยุคที่ธุรกิจต่าง ๆ มีการแข่งขันสูงขึ้น สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ก็มีการแข่งขันที่สูงไปด้วยเช่นกัน ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นจึงต้องสามารถใช้งานได้ง่ายและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้ดี หรือก็คือจะต้องมีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้นไปด้วยนั่นเอง ดังนั้นการออกแบบที่เป็นพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
ในบทความนี้พวกเรา Foxbith จะแนะนำถึงหนึ่งในแนวทางการออกแบบที่มีประสิทธิภาพคือ Human Centric Design ที่เป็นแนวทางการออกแบบที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ง่านได้ง่ายและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี
Human Centric Design หรือ Human Centered Design หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า HCD นั้นคือแนวทางการออกแบบที่ให้ความสำคัญกับผู้ใช้ก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งเมื่อให้ผู้ใช้เป็นหัวใจของการออกแบบแล้วนั้นจะส่งผลให้สามารถพิจารณาถึงบริบทต่าง ๆ ของพวกเขาได้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัด ปัญหา หรือความต้องการต่าง ๆ ซึ่งเมื่อสามารถพิจารณาถึงได้อย่างครบถ้วน การออกแบบในรูปแบบดังกล่าวจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการต่าง ๆ ของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีหรือก็คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานและเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย
1. ให้ความสำคัญกับผู้คน (Be people centered )
ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเพื่อสร้างสิ่งใด ให้มุ่งความสนใจไปที่ผู้คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริบทของพวกเขา พวกเขาคือมนุษย์ที่มีความต้องการและผลิตภัณฑ์ที่เราออกแบบขึ้นจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ค้นหาปัญหาที่แท้จริง (Find the right problem)
Don Norman ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง UX ได้กล่าวว่าโดยปกติแล้วเวลาที่มีคนมาหาเขาพร้อมกับปัญหา สิ่งนั้นไม่ใช่ปัญหาแต่เป็นอาการของปัญหาต่างหาก ซึ่งเราต้องตามหาปัญหาพื้นฐานที่เป็นต้นตอของปัญหาอื่น ๆ การแก้ปัญหาพื้นฐานคือเป้าหมายที่แท้จริงที่ต้องการจากการออกแบบ ไม่เช่นนั้นปัญหาก็จะเกิดขึ้นต่อไป
3. คิดทุกอย่างรวมกันเป็นระบบ (Think of everything as a system)
ควรคำนึงถึงภาพรวมของเส้นทางผู้ใช้อยู่เสมอ แม้ว่าจะทำงานอยู่ในส่วนเล็ก ๆ แต่เราควรที่จะคำนึงถึงประสบการณ์โดยรวมทั้งหมดที่จะได้รับเพื่อให้การออกแบบระบบออกมาราบรื่นมากยิ่งขึ้น
4. แทรกแซงอย่างเล็กน้อยและเรียบง่าย (Small and simple interventions)
อย่าเร่งรีบไปกับการออกแบบวิธีแก้ปัญหาขนาดใหญ่ ควรทำงานซ้ำ ๆ ด้วยการแทรกแซงง่าย ๆ และเรียนรู้ไปกับมัน แล้วผลลัพธ์ที่ได้ก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ งสร้างตัวต้นแบบ ทำการทดสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จะตรงตามความต้องการของผู้ใช้
ระยะที่ 1 การสังเกต (Observation)
ในระยะนี้คือระยะที่จะต้องทำความเข้าใจผู้คนที่เราจะทำการออกแบบให้โดยการสังเกตและเรียนรู้เกี่ยวกับพวกเขา โดยจะละทิ้งสมมติฐานที่เคยมีและพิจารณาเพียงประเด็นปัญหาและรูปแบบของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่สังเกตได้เพื่อทำความเข้าใจว่าผู้คนจะรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
ระยะที่ 2 การระดมความคิด (Ideation)
จากการเรียนรู้ในระยะแรก แต่ละคนในทีมจะเกิดแนวคิดหรือความคิดต่าง ๆ ขึ้น ในระยะนี้จะต้องนำแนวคิดหรือความคิดต่าง ๆ ที่ได้มาเล่าสู่กันฟัง ไม่ว่าจะเป็นความคิดที่ดีหรือแย่ก็ตาม แล้วท้ายที่สุด แนวคิดของทีมก็จะพัฒนาไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุด
ระยะที่ 3 การสร้างตัวต้นแบบ (Rapid prototyping)
ในระยะนี้เราจะต้องสร้างตัวต้นแบบอย่างง่ายเพื่อที่จะทดสอบกับผู้ใช้งานได้ ซึ่งไม่ควรเป็นตัวต้นแบบที่มีความชัดเจนมาก ควรเป็นเพียงต้นแบบที่เพียงพอให้ผู้คนสามารถเข้าใจและแสดงความคิดเห็นกับมันได้ ซึ่งจุดประสงค์ของระยะนี้ไม่ใช่เพื่อสร้างวิธีแก้ปัญหาที่สมบูรณ์แบบแต่เพื่อให้แน่ใจว่าวิธีแก้ปัญหาของเราที่ระดมความคิดมานั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
ระยะที่ 4 ความคิดเห็นของผู้ใช้ (User feedback)
นี่คือระยะที่สำคัญที่สุดของการออกแบบเพราะถ้าหากไม่ได้รับความคิดเห็นของผู้ใช้ เราจะไม่รู้ว่าวิธีแก้ปัญหาของคุณนั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ จำเป็นที่จะต้องได้รับการปรับปรุงหรือไม่และอย่างไร
ระยะที่ 5 การทำซ้ำ (Iteration)
เมื่อคุณได้รับความคิดเห็นจากผู้ใช้ที่ได้ใช้งานตัวต้นแบบของคุณเรียบร้อยแล้ว คุณจะต้องใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงการออกแบบของคุณ ทำซ้ำและทดสอบไปเรื่อย ๆ จนกว่าวิธีแก้ปัญหาของคุณจะพร้อมใช้งาน
ระยะที่ 6 การนำไปปฏิบัติ (Implementation)
เมื่อการออกแบบของคุณพร้อมที่จะนำไปใช้งานจริงและได้นำไปใช้งานจริงแล้ว ถึงแม้อาจดูเหมือนการออกแบบได้เสร็จสิ้นแล้วแต่แท้จริงแล้วเราจะต้องทำการเรียนรู้และทำซ้ำในทุกครั้งที่เป็นไปได้เพื่อปรับปรุงการออกแบบต่อไป ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ซอฟแวร์ แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ เราจะต้องกลับไปที่ระยะที่ 1 และทำซ้ำอีกครั้งในการอัพเดตแต่ละครั้ง เพื่อใช้ความคิดเห็นหรือข้อติชมของผู้ใช้เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ความแตกต่างของ Human Centric Design และ Design Thinking Human Centric Design (HCD) และการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นแนวคิดที่มีความคล้ายคลึงกัน หรือบางคนอาจเชื่อว่าเป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วทั้งสองอย่างนั้นมีความแตกต่างที่สำคัญอยู่
ถึงแม้ทั้งสองจะมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีความคล้ายคลีงกันในเรื่องที่ให้ผู้คนเป็นหัวใจสำคัญ นอกจากนั้นทั้งสองยังสามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้ ทำให้เรามีทั้งวิธีคิด (Human Centric Design) และอุปกรณ์ (Design Thinking) สำหรับการออกแบบและสร้างสินค้าหรือบริการที่จะสามารถแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพหากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) สามารถอ่านได้ที่ [Design Thinking]