October 9, 2024
ในยุคที่เทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆ สร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง การทำ Design Thinking ไม่เพียงแต่ช่วยในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณค่า แต่ยังส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดที่ยืดหยุ่นและมีความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่เหมือนใคร
การนำ Design Thinking มาใช้ไม่เพียงแต่จะช่วยในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ แต่ยังสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีการคิดเชิงบวกและการทำงานร่วมกันในทีม การผสมผสานมุมมองที่หลากหลายจากสมาชิกในทีมจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูงและตรงกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ถ้าคุณต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมที่แท้จริงในองค์กรของคุณ ถึงเวลาแล้วที่จะหันมาใช้การคิดเชิงออกแบบในกระบวนการทำงานของคุณ
Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ เป็นกระบวนทางความคิดในการทำความเข้าใจการตั้งสมมติฐานต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา การกำหนดหัวข้อของปัญหาที่เกิดขึ้น และวิธีการแก้ไข
ปัญหา เป็นการพัฒนาความคิดรวมถึงการทำงานเป็นทีม เพื่อนำมาสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพที่สุดและเหมาะสมที่สุด
โดยการทำ Design Thinking มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
การทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ขั้นตอนแรกของการเริ่มทำ Design Thinking เป็นการทำความเข้าใจผู้ใช้ กลุ่มเป้าหมาย หรือสิ่งที่ต้องการจะแก้ไข โดยเริ่มจากการตั้งสมมติฐานเพื่อนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ และการวิเคราะห์ปัญหาให้ถี่ถ้วน เพื่อให้ได้วิธีการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด และสร้างได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม
การนิยามปัญหาถือเป็นการกำหนดปัญหาให้ชัดเจน เป็นการเข้าใจถึงความต้องการของกลุ่มหมาย ปัญหาที่พบเจอ เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกและคัดกรองพร้อมระบุปัญหาที่แท้จริง เป็นการกำหนดหรือบ่งชี้ปัญหาอย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถออกแบบวิธีแก้ปัญหาได้อย่างมีทิศทาง
การระดมความคิด หรือ Ideate เป็นขั้นตอนการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่างๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด การระดมความคิดควรมีมุมมองที่หลากหลาย และเสนอแนวทางการแก้ไขให้ได้มากที่สุด ไม่จำเป็นต้องเป็นความคิดของใครคนใดคนนึง แต่เป็นการผสมผสานความคิดจากคนในทีม เพื่อให้มีข้อมูลในการนำไปวิเคราะห์และสรุปผลออกมาเป็นความคิดที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ไขปัญหานั้นๆ ต่อไป
การสร้างแบบจำลอง หรือ ที่เรียกกันว่า “Prototype” เป็นขั้นตอนการนำไอเดียที่ได้มาออกแบบผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรม เพื่อสร้างต้นแบบสำหรับการทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มตัวอย่างลูกค้า จากนั้นจึงทำการสังเกตหรือเก็บข้อมูล ข้อเสนอแนะของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาในการสร้างสินค้าจริง
ในขั้นตอนนี้ตามหลักการ Design Thinking ถือเป็นการลงมือปฏิบัติจริง โดยการทดลองจะเป็นไปตามแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ได้กำหนดไว้ การทำ Prototype ถือเป็นการพัฒนาสินค้าต้นแบบหรือนวัตกรรมใหม่ๆขององค์กรว่าสามารถตอบสนองความต้องการภายในตลาดได้หรือไม่ และนำข้อเสนอแนะที่แสดงให้เห็นถึงข้อผิดพลาดมาปรับปรุงได้อย่างตรงจุดจนสมบูรณ์ก่อนนำออกสู่ตลาดจริง
ขั้นตอนการทดลอง (Test) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำงานตามหลักการ Design Thinking เป็นการทดลองนำต้นแบบที่สมบูรณ์ หรือ ข้อสรุปที่จะนำไปปฎิบัติจริงมาก่อน เพื่อทดลองประสิทธิภาพ ตลอดจนประเมินผล และนำปัญหาที่ได้รับจากการทดลอง ข้อดี ข้อเสีย ที่เกิดขึ้นมาพัฒนาต่อไป
เป็นวิธีการคิดจากสิ่งที่ลูกค้าพูด หรือ การวิเคราะห์จากความรู้สึก เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาที่ต้องการจะแก้ไขได้อย่างตรงจุด
การคิดนอกกรอบ โดยตั้งคำถามเพื่อนำไปหาคำตอบที่ต้องการ จากนั้นนำเป้าหมายที่ได้มาทำการระดมสมอง (brainstorming) เพื่อหาไอเดียที่เหมาะสม
การนำไอเดียที่มีไปสร้างให้เป็น “ผลงาน” โดยคำนึงถึงแค่ เวลา และ ค่าใช้จ่าย ที่จำกัด
โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้
โดยมีหลักการทดลองคือ “ลองหลายครั้ง ล้มเหลวบ่อยๆ ล้มเหลวเร็วเท่าไหร่ ยิ่งได้รู้ข้อผิดพลาดไวขึ้น
โดยผลงานการออกแบบสามารถทำได้หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่เพียงแต่ผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น
รู้หรือไม่ทำไมองค์กรต่างๆในยุคปัจจุบันถึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ “Design Thinking” เพราะการออกแบบในปัจจุบันสามารถทำได้อย่างหลากหลาย และนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรมเลยทีเดียว โดยการออกแบบที่กำลังเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นก็คือ “Design Thinking” เป็นกระบวนการคิดในเชิงออกแบบที่ถูกใช้ในการบริหารองค์กรรวมถึงการปลูกฝังระบบความคิดรูปแบบนี้ให้กับบุคลากรในองค์กรให้นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนได้อีกด้วย ซึ่งกระบวนการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ถือเป็นหลักการที่ช่วยทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างดีเลยทีเดียว
การทำ Design Thinking ถือว่ามีความสำคัญกับองค์กรในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากการนำเอากระบวนการของความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) มาใช้ในการบริหารองค์กรนั้นจะทำให้เห็นผลได้อย่างชัดเจน และสามารถเข้าใจถึงปัญหาได้เป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถเก็บเอาผลลัพธ์ที่ได้มาพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหลักได้เป็นอย่างดี
ในยุคที่มีการแข่งขันทางการตลาดสูงขึ้นยิ่งทำให้ใครๆ ต่างก็ขวนขวายหาทางคิดผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงการคิดหาวิธีทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ นั่นเลยทำให้หลายองค์กรมีการนำการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มาใช้ในธุรกิจของตน รวมไปถึงองค์กรใหญ่ระดับโลก อย่างเช่น Google , Apple หรือแม้แต่ Airbnb ก็ยังนำกระบวนการทางความคิดเชิงออกแบบนี้ มาใช้ในการบริหารธุรกิจของตนจนประสบความสำเร็จมาแล้ว และนั่นจึงทำให้หลายๆองค์กรหันมาใช้หลักการ Design Thinking เช่นเดียวกัน และสามารถประสบความสำเร็จได้ไม่แพ้องค์กรใหญ่ๆกันเลยทีเดียว จากที่กล่าวมาทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมองค์กรในยุคปัจจุบันถ้าอยากประสบความสำเร็จ จึงจำเป็นต้องทำ “Design Thinking” นั่นเอง
การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มีประโยชน์มากมาย ทั้งต่อองค์กรและบุคลากรเลยทีเดียว ซึ่งประโยชน์ในด้านต่างๆ มีดังนี้
กระบวนการนี้จะทำให้เราเห็นถึงปัญหาได้อย่างรอบคอบและละเอียดยิ่งขึ้น ส่งผลให้เราเห็นถึงปัญหาที่แท้จริงและสามารถระบุได้ว่าจะปัญหาที่จะนำมาวิเคราะห์คืออะไร จึงทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
หลักการ Design Thinking เป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ทำการระดมความคิดโดยจะได้รับข้อมูลที่หลากหลาย จากหลายความคิด หลายแง่มุม เพื่อให้ได้วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ยิ่งเยอะเท่าไหร่ยิ่งดีเพราะจะทำให้มองเห็นถึงสิ่งต่างๆได้อย่างรอบด้าน และมีตัวเลือกหลายทาง ก่อนจะนำตัวเลือกที่ดีที่สุดมาใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือปฎิบัติจริงต่อไป
การแชร์ไอเดีย ตลอดจนการระดมความคิดนั้น จะทำให้สมองของเราได้ฝึกคิดหลากหลายรูปแบบ หลากหลายวิธีการ หรือมุมมองต่างๆ และทำให้ได้รับวิธีที่แปลกใหม่ซึ่งเราอาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อน ถือเป็นพื้นฐานการฝึกความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ที่เป็นพื้นในการแก้ไขปัญหา
เนื่องจากมีการระดมความคิดจึงทำให้เราได้รับวิธีแก้ปัญหาหลายทาง นอกจากจะทำให้เราได้รับวิธีที่ดีที่สุดแล้วนั้นก็ยังทำให้มีตัวเลือกสำรองไปในตัวโดยผ่านกระบวนการลำดับความสำคัญมาเรียบร้อยแล้ว ทำให้เราสามารถหยิบมาใช้ได้หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น
เมื่อบุคลากรถูกปลูกฝังให้คิดอย่างมีระบบผ่านการทำงานที่ต้องแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักการ Design Thinking ส่งผลให้องค์กรมีการทำงานอย่างเป็นระบบ และ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งบุคลากรและองค์กรเลยทีเดียว
Design Thinking กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้หลักการคิดเชิงออกแบบ ที่มีปัจจัยสำคัญคือลูกค้า หรือ กลุ่มเป้าหมายหลัก เป็นการประยุกต์วิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการหรือนวัตกรรมใหม่ๆ และเป็นหลักการที่ช่วยบริหารองค์กรและบุคลากรภายในให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ยังเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือนวัตกรรมใหม่ๆ และยังเป็นประโยชน์ต่อการทำงานที่ช่วยให้บุคลากรมีระบบความคิดที่ดี และ พร้อมในการหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ ซึ่งถือเป็นวิธีการตอบโจทย์ที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไร ก็สามารถรับมือและแก้ไขปัญหาได้จนสำเร็จ