7 ขั้นตอน การสร้างเว็บไซต์ง่าย ๆ ทำเองได้ไม่ต้องเขียนโค้ด!

April 23, 2024

7 ขั้นตอน การสร้างเว็บไซต์ง่าย ๆ ทำเองได้ไม่ต้องเขียนโค้ด!

การมีเว็บไซต์ (Website) ถือเป็นเรื่องสําคัญสําหรับธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ เพราะเว็บไซต์คือช่องทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่เข้าถึงผู้ใช้ได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการทำ SEO และสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือ ความประทับใจ กับความเป็นมืออาชีพให้กับเจ้าของธุรกิจได้ดี

“การสร้างเว็บไซต์ คือการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ ให้สามารถใช้งานได้ผ่านอินเทอร์เน็ต” หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องยากและไกลตัว เพราะต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคมากมาย แถมยังมีต้นทุนที่สูงมากอีก

แต่การสร้างเว็บไซต์ ไม่ได้มีแค่วิธีเขียนเว็บด้วยภาษา HTML เหมือนเพียงในอดีตอีกต่อไป เพราะปัจจุบันปี 2024 นี้ ได้มีเครื่องมือช่วยในการสร้างเว็บไซต์เกิดขึ้นมาหลายวิธี สำหรับทั้งผู้ที่มีทักษะทางโปรแกรมมิ่ง หรือผู้ที่ไม่มีความรู้เหล่านี้เลย ก็สามารถสร้างเว็บให้กับตนเองหรือธุรกิจได้ ด้วยขั้นตอนที่ไม่ยากอย่างที่คิด

ถ้าอยากรู้ว่าการสร้างเว็บไซต์ที่ไม่ต้องเขียนโค้ด นั้นมีขั้นตอนอย่างไร ให้เอานิ้วแตะกลางจอและลากขึ้นด้านบน เพื่ออ่านบทความกันได้เลยครับ

วางแผนการสร้างเว็บไซต์

ก่อนเริ่มการสร้างเว็บไซต์ สิ่งแรกที่ควรทำคือการวางแผน เพื่อให้เว็บไซต์มีเป้าหมายและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อย ต่อไปนี้

1. กำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์

อย่างแรก คือการกำหนดเป้าหมายหลักของเว็บไซต์ให้ชัดเจนก่อน ว่าผลลัพธ์อะไรที่ต้องการได้จากการสร้างเว็บไซต์นี้ขึ้น เช่นต้องการเพิ่มยอดขาย เพิ่มจำนวนผู้ที่สมัครสมาชิก หรือต้องการให้ Reach เพิ่มมากขึ้น

เพราะเป้าหมายของเว็บไซต์นั้น มีผลต่อการตัดสินใจในการออกแบบ การเลือกเนื้อหา และการวัดผลที่ใช้แตกต่างกัน เว็บที่มีเป้าหมายชัดเจนจะสามารถสื่อสารเรื่องที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การกำหนดเป้าหมายในการสร้างเว็บไซต์ ควรจะให้อยู่ในหลักการ SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) อย่างเช่น เป้าหมายของเว็บไซต์คือ “การเพิ่มยอดขายสินค้าออนไลน์ 20% ภายใน 6 เดือน”

2. ระบุกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้

หลังจากเข้าใจเป้าหมายการสร้างเว็บไซต์แล้ว ต่อมาคือการระบุกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์และเป็นลูกค้า หรือผู้สนใจในสิ่งที่เว็บนำเสนอการระบุกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ ควรจะอิงจากเป้าหมายของเว็บไซต์และข้อมูลทางสถิติ หรือการวิจัยข้อมูลของผู้ใช้ที่มี เช่น เพศ อายุ รายได้ การศึกษา อาชีพ ความสนใจ ความต้องการ ปัญหา หรือความคาดหวัง เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้ที่คาดไว้มีความชัดเจน และมีขอบเขตที่เหมาะสม ไม่ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้แคบหรือกว้างเกินไป

3. ออกแบบแผนผังเว็บไซต์ (Sitemap)

สิ่งที่ต้องทำก่อนเริ่มการสร้างเว็บไซต์ต่อมา คือการวางโครงสร้างเว็บไซต์ (Sitemap) เป็นการรวบรวมรายการหน้าเว็บทั้งหมดของเว็บไซต์ เพื่อแสดงลำดับความสำคัญ ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยง และโครงสร้างของหน้าเว็บ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจภาพรวมของเว็บไซต์ ค้นหาหน้าเว็บที่ต้องการได้สะดวก และยังทำให้ Search Engine เข้าถึงข้อมูลแต่ละส่วนเพื่อ Indexing ได้ง่ายในการสร้างเว็บไซต์ หน้าเว็บสำคัญหรือที่ผู้ใช้อยากเห็น ก็ควรจะอยู่บนสุดหรือใกล้กับหน้าแรก (Home page) เพื่อให้เห็นและเข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องคลิกหลายรอบการออกแบบแผนผังเว็บไซต์ อาจใช้เครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ช่วยในการสร้างได้ฟรีอย่าง Canva, Gliffy, Creately, MindMeister หรือ Xmind แผนผังเว็บไซต์ที่ออกแบบควรมีความชัดเจน และพยายามจำกัดจำนวนหน้าเว็บ ให้น้อยที่สุดแต่ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการ

4. จัดวางโครงสร้างหน้าเว็บ (Page Structure & Layout)

ต่อมาคือการจัดวางโครงสร้างบนหน้าเว็บ (Web page) ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง และวางอยู่ในตำแหน่งไหน ด้วยการเขียน Layout คร่าว ๆ ให้เห็นภาพว่ามีอะไรอยู่ในหน้านั้นบ้าง ตั้งแต่ส่วนหัว (Header) ส่วนเมนู (Menu) ส่วนเนื้อหา (Content) และส่วนท้าย (Footer)ในการสร้างเว็บไซต์ การจัดวางโครงสร้างหน้าเว็บ ส่วนประกอบสำคัญที่อยากให้ผู้ใช้เห็นก่อน ก็ควรอยู่ในตำแหน่งเด่นชัด เช่นส่วนหัวที่ควรมีโลโก้ ชื่อเว็บไซต์ และข้อความอธิบาย ส่วนเมนูควรมีลิงก์ไปยังหน้าเว็บสำคัญต่าง ๆ และมีการจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน ส่วนเนื้อหาควรมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของเว็บไซต์ มีการใช้ภาพ วิดีโอ หรืออนิเมชันเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และส่วนท้ายที่ต้องมีข้อมูลติดต่อ กับลิงก์ส่งผู้ใช้ไปยังหน้าอื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องเลื่อนกลับด้านบน

เลือกวิธีการสร้างเว็บไซต์

หลังจากที่วางแผนการสร้างเว็บไซต์เรียบร้อย ต่อมาคือการเลือกวิธีสร้างเว็บไซต์ ที่มีหลายวิธีทำให้เป็นทางเลือก ตามความเหมาะสมของเว็บไซต์ที่ต้องการ

แต่ละวิธีการสร้างเว็บไซต์ ก็ล้วนมีข้อดีข้อเสีย และความเหมาะสมที่แตกต่างกัน ต่อไปนี้

  • ใช้ Instant Website Builder ในการสร้างเว็บไซต์

Instant Website Builder เครื่องมือการสร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ผู้ที่ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนเว็บไซต์มาก่อน เพราะมีเทมเพลตสำเร็จรูปให้เลือกใช้งานตามหมวดหมู่ประเภทเว็บไซต์หลากหลาย ทั้งแบบฟรีและเสียตังค์ ร่วมกับการใช้คุณสมบัติ Drag and Drop ที่ช่วยให้การปรับแต่งเว็บไซต์ทำได้เพียงแค่ลากวางองค์ประกอบต่าง ๆ ลงบนหน้าเว็บ โดยที่ไม่ต้องพิมพ์หรือเขียนโค้ด

  • ทำเว็บไซต์ด้วย WordPress

WordPress คือโอเพ่นซอร์ส CMS (Content management system) หรือระบบจัดการเนื้อหาในเว็บไซต์ เป็นวิธีสร้างเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมสูง เพราะผู้ใช้สามารถเพิ่ม/ลบ/แก้ไขเนื้อหาได้ง่ายและสะดวก ผ่านการควบคุมทั้งเว็บไซต์ด้วยระบบ Dashboard

จุดเด่นของการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress คือระบบ Plugin และ Theme ที่มีให้เลือกใช้กว่าหมื่นรายการ ทั้งแบบฟรีและเสียตังค์ ช่วยให้การ customize เว็บไซต์ ทำได้ละเอียดรอบด้านมากกว่าวิธีสร้างเว็บไซต์ด้วยเครื่องมือ Instant website builder

  • การจ้าง Outsource พัฒนาเว็บไซต์

การจ้าง Outsource คือวิธีสร้างเว็บไซต์ด้วยการว่าจ้างบุคคลภายนอก (ฟรีแลนซ์) หรือบริษัทที่รับพัฒนาเว็บไซต์โดยเฉพาะ อย่างพวกเรา Foxbith ให้ทำหน้าที่ตั้งแต่การออกแบบและสร้างเว็บไซต์ตามความต้องการของผู้จ้าง

การสร้างเว็บไซต์ด้วยวิธีนี้ เหมาะมากสำหรับธุรกิจหรือองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ความซับซ้อนสูง เพราะการจ้างบริษัททำเว็บไซต์ให้ จะได้ทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีประสบการณ์ตรงในการสร้างเว็บ เพื่อให้ได้เว็บไซต์คุณภาพสูง และตรงตามเป้าหมายการมีเว็บไซต์มากที่สุด - จ้างทำเว็บไซต์ ราคาเท่าไหร่ ? มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ง่าย ๆ ไม่ต้องเขียนโค้ด

หลายคนยังอาจคิดว่า การสร้างเว็บไซต์ นั้นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโค้ด และต้องทุ่มเทเวลากับค่าใช้จ่ายมากในการสร้างเว็บ แต่แท้จริงแล้ว ปัจจุบันการทำเว็บไซต์นั้นง่ายกว่าที่คิดไว้มาก ด้วยการใช้แพลตฟอร์ม Instant Web ที่มีให้เลือกมากมาย หัวข้อนี้ จะพามาดูขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ตั้งแต่เริ่มต้นกันครับ ว่ามีวิธีการอย่างไร

1. เลือกแพลตฟอร์ม Instant Web และสร้างบัญชี

ขั้นตอนแรกในการสร้างเว็บไซต์ คือการเลือกแพลตฟอร์ม Instant web ที่เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน เพราะแต่ละแพลตฟอร์มล้วนมีความต่างกันในเรื่องคุณสมบัติ การปรับแต่ง ความยากง่ายในการใช้งาน ราคาแพ็คเกจ และการสนับสนุนช่วยดูแลปัญหา Technical เว็บไซต์

ผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ด้วย Instant web ควรจะหาข้อมูลและเปรียบเทียบกันหลาย ๆ แพลตฟอร์ม ก่อนตัดสินใจเลือกใช้ เช่น Webflow, Wix หรือ Squarespace - เปรียบเทียบ 5 เว็บไซต์สำเร็จรูป ใช้ขายของออนไลน์ เลือกเจ้าไหนดี ?

หลังจากเลือกแพลตฟอร์มแล้ว ผู้ใช้จะต้องสร้างบัญชีเข้าใช้งาน โดยกรอกข้อมูลที่จำเป็นเช่น ชื่อ อีเมล รหัสผ่าน และข้อมูลการชำระเงิน (ถ้ามี) ในบางแพลตฟอร์มอาจมีการให้ทดลองใช้งานฟรีเป็นเวลานึง หรือมีแผนการใช้งานแบบไม่เสียตังค์ แต่แลกกับข้อจำกัดเรื่องการปรับแต่ง และโดเมนของเว็บไซต์ที่เลือกเองไม่ได้

2. ตั้งชื่อโดเมน

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ต่อมา คือการตั้งชื่อโดเมน (Domain) สำหรับระบุที่อยู่ของเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต ควรเลือกชื่อโดเมนที่สื่อถึงบริการ หรือสินค้าเพื่อให้ผู้ใช้จดจำได้ง่าย และเป็นปัจจัยนึงของการปรับแต่ง SEO เพื่อให้เว็บปรากฏบนหน้าแรกของผลการค้นหา

การตั้งชื่อโดเมน อย่าลืมคำนึงเรื่องนามสกุล (Extension) ของโดเมนอย่าง .com .net .org .th เพราะนามสกุลโดเมนจะบ่งบอกถึงประเภท หรือพื้นที่ของเว็บไซต์ แนะนำให้เลือกตามความเหมาะสมและความคุ้นเคยของกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้

หลังจากได้ชื่อโดเมนแล้ว ผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ จะต้องสอบว่าชื่อโดเมนนั้นว่างหรือไม่ หากถ้าว่างและต้องการจดโดเมนด้วยชื่อนั้น อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์ม Instant Web ที่เลือกใช้ บางแพลตฟอร์มอาจให้ใช้โดเมนฟรีเป็นเวลานึง หรือมีโดเมนฟรีที่เป็นนามสกุลของแพลตฟอร์ม เช่น .wix.com หรือ .weebly.com

3. เลือกเทมเพลตสำเร็จรูป

หลังจากตั้งชื่อโดเมน ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ต่อไป คือการเลือกเทมเพลต หรือรูปแบบหน้าเว็บไซต์สำเร็จรูปนำมาใช้งานได้ทันที ส่วนใหญ่แล้ว เทมเพลตสำเร็จรูปจะมีให้เลือกใช้หลากหลายตามประเภทหมวดหมู่ธุรกิจ เช่นหมวดธุรกิจ การศึกษา บล็อก หรืออีคอมเมิร์ซ ผู้ใช้สามารถกดดูตัวอย่างเทมเพลต และเลือกรูปแบบที่ชอบ หรือใกล้เคียงกับประเภทเว็บไซต์ของเราที่จะสร้างได้

การเลือกเทมเพลตสำเร็จรูป นั้นเป็นขั้นตอนที่ง่ายและสนุก ในระหว่างเลือกสามารถทดลองใช้เทมเพลตไปได้เรื่อย ๆ หากยังไม่พอใจหรือต้องการลองเทมเพลตอื่นก็ทำได้ ไม่ต้องเสียเวลาออกแบบเองทั้งหมด

4. ปรับแต่งเว็บไซต์

เมื่อได้เทมเพลตเว็บไซต์สำเร็จรูปที่ชอบ ต่อมาคือการปรับแต่งเทมเพลตให้เหมาะกับเป้าหมายการสร้างเว็บไซต์นี้ ที่ส่วนใหญ่จะมีเครื่องมือสำหรับปรับแต่งภายในตัวอยู่แล้ว โดยไม่ต้องเขียนโค้ด ตั้งแต่การเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร (Font) โทนสี ภาพพื้นหลัง เมนูหน้าแรก หรือการเพิ่มรูปภาพกับวิดีโอ

ด้วยคุณสมบัติการปรับแต่งเว็บไซต์ภายในตัว ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถแก้ไขหรือเพิ่มส่วนประกอบให้กับหน้าเว็บด้วยตนเองได้

ในการปรับแต่งเว็บไซต์นั้น ควรจะขึ้นอยู่กับความคิดของเราหรือแผนที่วางเอาไว้ มากกว่ายึดใช้ตามเทมเพลตเป็นหลัก เช่นถ้าต้องการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัว ก็อาจเลือกสไตล์ที่สะท้อนตัวตนของผู้ทำ อย่างสีที่ชอบหรือฟอนต์ลายมือ แต่ถ้าต้องการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ การออกแบบตาม CI (Corporate Identity) ของแบรนด์จะถูกต้องตามเป้าหมายเว็บไซต์มากกว่า

5. เพิ่มเนื้อหา

หลังจากได้โครงสร้างและปรับแต่งหน้าเว็บไซต์เรียบร้อย ส่วนสำคัญต่อมาคือการเพิ่มเนื้อหาหรือคอนเทนต์เข้าไป อย่างข้อมูลหน้าเว็บ บทความ (Blog) และข้อมูลส่วนตัว เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจว่าหน้าเว็บเกี่ยวกับอะไร และมีข้อดีหรือคุณค่าอะไรให้กับผู้อ่าน

การเพิ่มเนื้อหาทำได้ไม่ยาก เพียงใช้เครื่องมือ Text editor ภายในตัวแพลตฟอร์มการสร้างเว็บที่มีให้ สามารถทำได้ทั้งพิมพ์ข้อความ แทรกรูปภาพกับวิดีโอ ได้โดยไม่ต้องยุ่งกับโค้ด และยังจัดรูปแบบข้อความให้เป็น หัวข้อ (Heading) ย่อหน้า ตัวหนา ตัวเอียง หรือแทรกลิงก์ให้กับตัวอักษร ก็ทำได้หมด

Tip : สำหรับเว็บไซต์ขายของออนไลน์ การเลือกใช้ข้อความ รูปภาพ และสื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ ที่น่าสนใจ คมชัด สื่อความหมายได้ดี จะช่วยให้เว็บไซต์ดูน่าสนใจ ดึงดูดใจผู้ใช้ได้ และนำไปสู่การตัดสินใจใช้บริการหรือซื้อสินค้าได้ในที่สุด

6. การตั้งค่า SEO

SEO (Search Engine Optimization) คือการปรับปรุงเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับเครื่องมือค้นหาอย่าง Google หรือ Bing เพื่อให้หน้าเว็บหรือบทความมีโอกาสไปแสดงในหน้าแรก ตามผลการค้นหาแต่ละ Keyword เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก สำหรับทำการตลาดดิจิทัล

การตั้งค่านั้นไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด เพียงกรอกข้อมูลเบื้องต้นตามฟอร์มบนเครื่องมือสำหรับ SEO ที่แพลตฟอร์มมีให้ อย่าง Title tag, Description, Keyword, Custom URL รวมถึงการติดตั้ง Google Search Console (GSC) กับ Google Analytics และระบบยังสามารถช่วยวิเคราะห์ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุง SEO ให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

7. เผยแพร่เว็บไซต์

หลังผ่านขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ (ข้อ1-6) กันมาเรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนนี้จะคือการเผยแพร่เว็บไซต์ (Publish) สู่สาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงได้ผ่านการค้นหา เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างเว็บ ที่ผู้ทำควรต้องตรวจสอบ และทดสอบเว็บไซต์ให้มั่นใจว่าถูกต้องเหมาะสมก่อนเผยแพร่

การเผยแพร่เว็บไซต์ สามารถทำได้จากเครื่องมือการแก้ไขภายในตัวแพลตฟอร์ม Instant web โดยจะมีปุ่ม หรือเมนูในการกดเผยแพร่ เช่นการกด Publish หรือกด Save หลังจากเผยแพร่ไปแล้ว ผู้ใช้นั้นยังสามารถแก้ไข และแสดงผลหลังปรับปรุงเว็บไซต์แบบเรียลไทม์ได้ หรือถ้าต้องการหยุดเผยแพร่เพื่ออัปเดตเว็บครั้งใหญ่ ก็สามารถทำได้ภายในตัวแพลตฟอร์ม

บทสรุป

การสร้างเว็บไซต์ ในยุคนี้มีความจำเป็นมากสำหรับธุรกิจและองค์กรทุกขนาด เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ นำเสนอข้อมูล หรือขายสินค้าและบริการ ผ่านการทำการตลาดเว็บไซต์ด้วยโฆษณา Google ads กับการปรับแต่ง SEO เพื่อแข่งขันกันเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย และสร้างความได้เปรียบในทางธุรกิจ

เมื่อก่อน การสร้างเว็บไซต์ จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการ Coding เพื่อเขียนทั้งเว็บไซต์เอง แต่ปัจจุบันที่เทคโนโลยีเกี่ยวกับวิธีสร้างเว็บไซต์โดยที่ไม่ต้องเขียนโค้ดเองพัฒนามาถึง อย่าง WordPress หรือเครื่องมือ Instant website builder ทำให้การมีเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเพื่อธุรกิจจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพียงวางแผนก่อนการสร้างเว็บไซต์อย่างรอบคอบ เลือกวิธีสร้างเว็บไซต์ที่เหมาะสม และทำตามไปทีละเสต็ปให้ครบทุกขั้นตอน

แต่ถ้าคุณต้องการเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ เลือกจ้างบริษัทรับทำเว็บไซต์ อาจดีกว่าไหม ?

พวกเรา Foxbith บริษัทที่ให้บริการรับจ้างทำเว็บไซต์ ตั้งแต่การออกแบบโครงสร้างให้เหมาะสมกับธุรกิจหรือองค์กร ผ่านกระบวนการสร้างโดยนักพัฒนาเว็บไซต์มืออาชีพ มั่นใจเลยว่าจะได้รับ เว็บไซต์ที่ตอบได้ทุกโจทย์ความต้องการของท่าน

ติดต่อเรา บริษัท ฟอกซ์บิธ จำกัด

1000/7-8 อาคารลิเบอร์ตี้พลาซ่า ชั้น 19 ถนนสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ) เขตคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110