Web Programming คืออะไร ? ภาษาที่ต้องรู้มีอะไรบ้าง

April 24, 2024

Web Programming คืออะไร ? ภาษาที่ต้องรู้มีอะไรบ้าง

ในยุคดิจิทัล ที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกลายมาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะการค้นหาข้อมูล ซื้อขายสินค้า การศึกษาเรียนรู้/ทำงาน ความบันเทิง หรือแม้แต่การดำเนินธุรกิจในทุกประเภท ทั้งหมดล้วนต้องอาศัยความรู้เรื่อง Web programming เพื่อจะสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน

ตามสถิติของ Statista ในปี 2024 พบว่ามีเว็บไซต์ทั่วโลกมากกว่า 2.5 พันล้านเว็บ และจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีกว่า 5.3 พันล้านคน ซึ่งเท่ากับประมาณ 68% ของประชากรโลก อีกทั้งเทรนด์ใหม่ที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเว็บ อย่าง Progressive Web Apps (PWA) เว็บแอปพลิเคชันที่มีคุณสมบัติคล้ายแอปบนมือถือ หรือ WebAssembly (WASM) เทคโนโลยีที่ช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้ดีและเร็วขึ้น

จากข้อมูลจะเห็นว่า Web programming นั้นเป็นสาขาที่มี potential สูงและเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอย่างมาก หากสนใจ บทความนี้อาจจะพอเป็นแนวทางให้เห็นภาพรวมของ Web programming พร้อมกับแนวทางเริ่มศึกษาเพื่อไปสู่อาชีพ Web programmer ที่หลายธุรกิจ/องค์กร ต้องการได้

Web Programming คืออะไร

Web Programming คือกระบวนการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ (Web development) หรือแอปพลิเคชันบนอินเทอร์เน็ต ด้วยการใช้หลายภาษาโปรแกรมมิ่ง เพื่อสร้างเนื้อหาที่ปรากฎบนจอ การติดต่อกับฐานข้อมูล และการจัดการกับข้อมูลผ่านอินเทอร์เฟซผู้ใช้ ต่างจากการเขียนโปรแกรมทั่วไป ตรงที่จะต้องออกแบบให้แสดงผลบนเว็บเบราว์เซอร์และสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ผ่านหน้าเว็บได้ อีกทั้งต้องออกแบบให้สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล และทำงานร่วมกันได้ดีกับเซิร์ฟเวอร์ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ

  • ภาษาที่ใช้ในส่วน Client-side หรือฝั่งผู้ใช้งาน อย่าง HTML, CSS และ JavaScript เพื่อใช้สร้างโครงสร้าง จัดรูปแบบ และเพิ่มลูกเล่นให้กับหน้าเว็บไซต์
  • ภาษาที่ใช้ในส่วน Server-side หรือฝั่งผู้ให้บริการ เช่น PHP, Python, Ruby ฯลฯ สำหรับใช้เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล การประมวผล และการส่งข้อมูลไปยัง Client-side

Web Programmer คือใคร

Web Programmer คือบุคคลที่ชำนาญในการเขียนโค้ดสำหรับเว็บไซต์และเว็บแอปโดยเฉพาะ ด้วยภาษาโปรแกรมมิ่งต่าง ๆ เช่น HTML, CSS, JavaScript ในส่วน Client-side และภาษา PHP, Ruby, Python ฯลฯ สำหรับส่วน Server-side ซึ่งจะทำงานร่วมกับ Web Developer และ Web Designer เพื่อสร้างเว็บไซต์หรือเว็บแอปพลิเคชันให้สมบูรณ์ตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ สามารถแบ่ง Web programmer ตามหน้าที่ได้ 3 ตำแหน่งคือ Front End, Back End และ Full Stack Developer

แล้วต่างจาก Web Developer ยังไง? หลายท่านอาจเริ่มสงสัย

แตกต่างกันตรงที่ Web Programmer จะเน้นหนักไปที่การเขียนโค้ด (Coding) เพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้ถูกต้อง ขณะที่ Web Developer จะมองในแง่กว้างกว่า ไม่เจาะจงเฉพาะการเขียนโค้ด แต่จะครอบคลุมกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การออกแบบเว็บไซต์ วางโครงสร้าง และการกำหนดฟังชันก์ต่าง ๆ รวมถึงการติดต่อประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

หน้าที่หลักของ Web Programmer

  1. ศึกษา requirement ของลูกค้า แล้วนำมาปรับให้เหมาะสมกับระบบที่สามารถทำได้จริง
  2. เขียนโค้ดสร้างโครงสร้างพื้นฐานของเว็บไซต์
  3. ทำงานร่วมกับ Web Designer เพื่อเขียนโค้ดให้ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User interface) ออกมาตามที่กำหนด
  1. ค้นหาข้อผิดพลาด และแก้ไขปัญหาเมื่อเว็บไซต์ไม่สามารถใช้งานได้
  2. ทดสอบเว็บไซต์ก่อนเปิดให้ใช้งานจริง
  3. คอยปรับปรุง และอัปเดตการใช้งานของเว็บไซต์ ให้ใช้ได้ราบรื่นอยู่เสมอ

ทักษะสกิลของ Web Programmer

  • ทักษะภาษาโปรแกรมมิ่งที่ใช้เขียนเว็บไซต์ เช่น HTML, CSS, JavaScript, PHP, Java, Ruby, Python ฯลฯ
  • รู้จักใช้เครื่องมือและเฟรมเวิร์ก (Framework) ช่วยสร้างเว็บไซต์ เช่น Node/Express, React, Angular, Laravel, Django หรือ Ruby on Rails
  • เข้าใจการทำงานของ Database และสามารถออกแบบได้
  • มีความรู้เรื่องการติดตั้งและจัดการ Web Server
  • สามารถ Debugging และ Troubleshooting เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
  • พร้อมปรับตัว เรียนรู้ และเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามา
  • มีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ด้วยการสื่อสารที่กระชับชัดเจน

6 ภาษาโปรแกรมหลัก ที่ใช้ทำ Web Programmingการทำ Web programming นั้นมีภาษาโปรแกรมมากมายที่สามารถใช้ได้ และแต่ละภาษาก็มีการใช้งานกับลักษณะที่ต่างกัน ตาม 6 ภาษาโปรแกรมหลัก ที่ Web programmer นิยมใช้กันต่อไปนี้

  1. HTML5

HTML ย่อมาจาก Hypertext Markup Language เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสร้างโครงสร้างเว็บไซต์ โดยใช้ (Tag) ในการกำหนดส่วนต่าง ๆ ของเว็บอย่าง หัวข้อ ย่อหน้า ลิสต์รายการ ตาราง ภาพ ลิงก์HTML5 นั้นเป็นเวอร์ชันล่าสุดของ HTML ที่มีการพัฒนาเพิ่มคุณสมบัติใหม่เข้ามา เช่นการรองรับสื่อมัลติมีเดีย การสร้างฟอร์ม และการใช้ API ต่าง ๆ ถือเป็นภาษาพื้นฐานที่ Web programmer ทุกคนต้องรู้

  1. CSS3

CSS ย่อมาจาก Cascading Style Sheets คือภาษาที่ใช้กำหนดรูปแบบหรือสไตล์ของเว็บไซต์ โดยใช้ Selector, Property, Value และ Rule ในการกำหนด สี ขนาด ตำแหน่ง การจัดเรียง การปรับขนาด และอื่น ๆ ของ Element บนเว็บไซต์CSS3 นั้นเป็นเวอร์ชันล่าสุดของ CSS ที่เพิ่มคุณสมบัติใหม่เข้ามา อย่างการใช้สีแบบ Gradient การใช้ฟอนต์แบบ Web Font การใช้เอฟเฟกต์แบบ Transition/Transform และการจัดวางแบบ Flexbox, Grid ฯลฯ เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งสำคัญที่ใช้ออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงาม และเหมาะสมกับขนาดหน้าจอของอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน

  1. JavaScript (ES6+)

JavaScript เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งที่ใช้สำหรับเขียน Web programming ฝั่ง client-side เพื่อเพิ่มลูกเล่นโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยทำงานผ่าน Web Browser เช่น Chrome Firefox หรือ Microsoft EdgeES6+ คือเวอร์ชันล่าสุดของ JavaScript ที่มีการเพิ่ม syntax ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การเขียนโค้ดทำได้ดี มีประสิทธิภาพ และใช้งานง่ายมากขึ้น

  1. TypeScript

ภาษาโปรแกรมที่เป็น Superset ของ JavaScript หรือหมายความว่า TypeScript จะมีคุณสมบัติเหมือน JavaScript แต่เพิ่มฟังก์ชันเพิ่มเติมเข้ามา อย่างการใช้ Type System ที่ช่วยให้การเขียนโค้ดมีความถูกต้องและง่ายต่อการอ่าน เพราะ TypeScript จะถูกคอมไพล์เป็น JavaScript ก่อนที่จะรันบนเว็บไซต์หรือเว็บแอปพลิเคชัน

  1. Python

Python ภาษาโปรแกรมที่เขียนเข้าใจง่ายและสามารถใช้ทำงานได้หลากหลาย เพราะมีไลบรารี (Library) กับเฟรมเวิร์ก (Framework) ให้เลือกใช้เยอะ อย่างเช่น Django, Flask, PyTorch หรือ TensorFlow สามารถใช้เขียน Web programming ได้ทั้งในส่วน Front end และ Back end

  1. PHP

PHP ภาษาโปรแกรมมิ่งที่ทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ สามารถประมวลผลและจัดการกับฐานข้อมูลได้ เป็นภาษาที่มีรูปแบบการเขียนคล้ายกับ HTML แต่สามารถฝัง (Embed) ลงใน HTML ได้ เหมาะสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์หรือเว็บแอปพลิเคชันที่ใช้งานฐานข้อมูลมาก หรือมีการจัดการกับเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงบ่อยเส้นทางเริ่มศึกษา Web Programming เพื่อไปเป็น Web Programmer

สำหรับผู้ที่สนใจศึกษา Web Programming เพื่อมุ่งสู่อาชีพ Web Programmer นั้น ขั้นแรกควรเริ่มต้นจากการเรียนรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HTML, CSS กับ JavaScript เพื่อให้เข้าใจหลักการทำงานของเว็บไซต์ จากนั้นให้ศึกษาการใช้ framework ยอดนิยมอย่าง Bootstrap และ React เพื่อใช้ช่วยพัฒนาเว็บไซต์หรือเว็บแอปพลิเคชันได้เร็วขึ้น

กุญแจความสำเร็จในเส้นทางของ Web Programmer นั้นคือการ "ฝึกฝน" โดยอาจเริ่มจากโจทย์ง่าย ๆ บนเว็บไซต์ฝึกเขียนโค้ดอย่าง Codewars หรือ HackerRank และไต่ระดับความยากขึ้นไปเพื่อเรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ แล้วให้ลองสร้างเว็บไซต์จริงของตัวเอง ด้วยการฝึกประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา หรือเลือกแชร์ผลงานเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นเองบน GitHub เพื่อเป็นการโชว์ผลงานพร้อมกับเริ่มสร้าง Portfolio ของตัวเองไปด้วย

เมื่อมีพื้นฐาน HTML, CSS กับ JavaScript ดีพอแล้ว

ในขั้นนี้คือการพัฒนาต่อยอดทักษะขั้นสูงเพื่อสร้างเว็บไซต์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ด้วยการฝึกเขียนภาษาโปรแกรมมิ่งทางฝั่ง Server-side อย่าง PHP, Python หรือ Node.js และเรียนรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล (Database) ทั้ง MySQL หรือ MongoDB สำหรับใช้เก็บข้อมูลผู้ใช้ สินค้า และข้อมูลอื่น ๆ ของเว็บไซต์

นอกจากทักษะการ Coding ก็อย่าลืมฝึกฝนภาษาอังกฤษกันด้วยนะ

เพราะการเติบโตในสายงาน Web programming ภาษาอังกฤษจะช่วยให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้เร็ว รวมถึงการเข้าร่วมชุมชนนักพัฒนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้/ประสบการณ์กับ Web programmer ต่างชาติที่เก่ง ๆ อีกด้วย

ในขั้นสุดท้าย เมื่อพร้อมที่จะประกอบอาชีพ Web Programmer ก่อนไปสมัครงานก็จะต้องเตรียม Portfolio รวบรวมผลงานที่เคยทำมา เพื่อนำไปเสนอกับบริษัทที่เปิดรับสมัครตำแหน่งงานนี้ และอย่าลืมที่จะเตรียมตัวไปก่อนสัมภาษณ์งาน ตั้งแต่การตอบคำถามเกี่ยวกับ Web programming ไปจนถึงคำถามข้อมูลของบริษัท ที่ผู้สมัครควรหาข้อมูลเบื้องต้นมาบ้างแล้ว

Web Programming กับเทรนด์ในปี 2024

ด้วยความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ถ้าอ้างอิงตามรายงานของ Statista ในปี 2023 จะพบว่ามีผู้ใช้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วโลกมากถึง 5.29 พันล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 2.1% และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือมากถึง 82.1% ส่งผลให้เทรนด์ของ Web programming ในปี 2024 คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ต่อไปนี้

  • การใช้ Artificial Intelligence (AI) จะถูกนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ Automation มากขึ้น และแอปพลิเคชันใหม่กว่า 30% จะเลือกใช้ AI เป็นเทคโนโลยีขับเคลื่อน UI ให้ Personalized เข้ากับผู้ใช้แต่ละคน
  • WebAssembly (Wasm) จะถูกนํามาใช้มากขึ้น เพราะสามารถนําโค้ดภาษาโปรแกรมมิ่งอื่นๆ มา compile ให้เป็น bytecode ที่ browser สามารถเข้าใจและรันได้ ช่วยให้ web apps ทํางานได้เร็วขึ้น
  • Serverless Computing จะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นโมเดลการ Cloud Computing ที่ผู้ใช้ไม่ต้องจัดการเซิร์ฟเวอร์เอง ช่วยให้นักพัฒนามุ่งเน้นไปที่การเขียนโค้ดโดยหมดกังวลเรื่องการจัดการเซิร์ฟเวอร์ สามารถลดความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเว็บแอปได้
  • Progressive Web App (PWA) ที่เป็นเว็บแอปพลิเคชัน แต่ทํางานได้เหมือน native apps บนมือถือ จะมีบทบาทสําคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะใช้งานได้แม้ไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แสดงผลได้เร็ว แถมสามารถเพิ่มไอคอนไปยังหน้าจอหลักและส่งการแจ้งเตือนแบบ push notification ได้
  • Cybersecurity จะเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ และนักพัฒนาเว็บจะต้องใส่ใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอันดับแรก พร้อมกับเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์                                                        

บทสรุป

สรุปแล้ว Web Programming นั้นคือกระบวนการเขียนเว็บไซต์หรือเว็บแอปพลิเคชันบนอินเทอร์เน็ต แบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือส่วน Client-side หรือฝั่งผู้ใช้งาน (HTML, CSS และ JavaScript) กับ Server-side หรือฝั่งผู้ให้บริการ (PHP, Python, Ruby ฯลฯ) 

มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับ Web Programmer เพราะเป็นบุคคลที่รับผิดชอบการเขียนโค้ด (Coding) ในกระบวนการ Web programming ทั้งหมด โดยจะทำงานร่วมกับ Web Developer และ Web Designer เพื่อสร้างเว็บไซต์หรือ Web apps ให้สมบูรณ์ตามทุก requirements ที่ผู้จ้างต้องการ

กล่าวคือ “ Web Programming กับ Web Programmer ” นั้นเป็นสองส่วนหลักที่ทำให้เว็บไซต์หรือเว็บแอปพลิเคชันเกิดขึ้นได้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายว่า Web Programming คือกระบวนการ ส่วน Web Programmer ก็คือบุคคลที่มีส่วนร่วมในกระบวนการนั่นเองครับ