February 21, 2024
ยุคปัจจุบัน การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ธุรกิจที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปต้องการความสะดวก ความแปลกใหม่ และความรวดเร็วในการซื้อขาย
การที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้น ไม่ได้มีเพียงการสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน และนำสินค้าหรือบริการมาลงขายแล้วจบ แต่ยังต้องเลือกกลยุทธ์ทำการตลาด E-Commerce Marketing ให้เหมาะสม เพื่อสร้างความประทับใจ เพิ่มความน่าเชื่อถือ และส่งเสริมให้การซื้อขายเกิดขึ้นจริง จนถึงการรักษาลูกค้าให้กลับมาซื้อซ้ำอีกได้
E-commerce Marketing คือการทำการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเว็บไซต์ เว็บ Marketplace หรือโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย และกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ
มีความคล้ายคลึงกับ Digital Marketing ที่ใช้กลยุทธ์และเครื่องมือทางออนไลน์ แต่ E-Commerce Marketing จะมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เพราะต้องเน้นไปที่การสร้างความไว้วางใจ และความพึงพอใจให้กับลูกค้า ในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการผ่านอินเทอร์เน็ต
การทำ E-Commerce Marketing มีกลยุทธ์หลายวิธี ที่ต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ ส่วนนี้มาดู E-Commerce Marketing ที่นิยมเลือกใช้กันครับ
การตลาดออนไลน์ผ่านโปรแกรมค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Search Engine) อย่างเช่น Google, Yahoo หรือ Bing เป็น E-Commerce Marketing สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ทำเว็บไซต์ของตัวเอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ
Facebook, Instagram, Youtube, Line หรือ Tiktok อาวุธลับของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ช่องทางการทำ E-Commerce Marketing ประสิทธิภาพสูง ที่มีผู้ใช้จำนวนมหาศาลค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ จึงสามารถใช้โซเชียลมีเดียเพื่อสร้างการรับรู้ และกระตุ้นยอดขายได้ดีเช่นกัน
E-Commerce Marketing บนโซเชียลมีเดีย จะเน้นไปที่การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการกดแสดงความรู้สึก การแสดงความคิดเห็น หรือการแชร์ ตัวอย่างเช่น การโพสต์เนื้อหาที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ หรือการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ และกระตุ้นให้พวกเขามีส่วนร่วมกับแบรนด์ สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยให้สินค้าหรือแบรนด์ถูกจดจำได้ง่าย ซึ่งอาจเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าที่ยอมจ่ายเงินให้เราได้ในอนาคต
เมื่อสินค้าหรือบริการเราดีจริงและผู้ใช้จดจำเราได้ เชื่อเลยว่าจะทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซถูกบอกต่อแบบปากต่อปาก (Word-of-Mouth) ด้วยการสื่อสารความรู้สึกทางบวกส่งต่อไปยังบุคคลอื่น ส่งผลให้แบรนด์เรามีน้ำหนักความน่าเชื่อถือมากกว่าการใช้โฆษณาที่ลงทุนสูงซะอีก นอกจากนี้ยังสามารถใช้โซเชียลมีเดียรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากลูกค้าได้โดยตรง เพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้นได้อีกด้วย
E-Commerce Marketing ที่เจ้าของธุรกิจร่วมมือกับบุคคลหรือบริษัทอื่นแบบพันธมิตร (เรียกว่า Publisher) เพื่อส่งเสริมและขายสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ผ่านช่องทางของเรา เช่นสื่อโซเชียลมีเดีย โดยจะได้รับค่าตอบแทน (Commission) จากเจ้าของธุรกิจที่เราทำการตลาดให้ตามเงื่อนใขที่กำหนด เงื่อนใขนั้นอาจกำหนดตามจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการขาย หรือจำนวนการสมัครสมาชิก
การมีบุคคลที่หลากหลายช่วยโปรโมทสินค้าหรือบริการ แล้วช่วยให้เป็นที่รู้จักในตลาดและสร้างยอดขายได้เร็วขึ้น แลกกับการจ่ายส่วนแบ่งนิดหน่อยตามที่ตกลง เป็น E-Commerce Marketing ที่ดีต่อธุรกิจพร้อมทั้งสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับครีเอเตอร์มากมาย ไม่แปลกใจเลยที่ปี 2024 นี้ Affiliate Marketing จะยังคงได้รับความนิยมจากหลายธุรกิจ
E-Commerce Marketing ทำการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ หรืออินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) มาเป็นผู้ช่วยในการโฆษณา รีวิว หรือแนะนำสินค้าและบริการผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของตน Influencer นั้นอาจเป็นได้ทั้งบุคคล หรือองค์กรที่มีผู้ติดตามจำนวนมากทางด้านใดด้านนึง และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกับที่ธุรกิจต้องการ
จากงานวิจัยของเว็บไซต์ Oracle พบว่ากว่า 80% ของผู้บริโภค เลือกซื้อสินค้าด้วยการตอบสนองกับคอนเทนต์ทางโซเชียลมีเดีย และกว่า 37% เลือกที่จะเชื่อเหล่า Influencer มากกว่าที่แบรนด์นำเสนอในคอนเทนต์เดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเหล่าผู้บริโภคพร้อมจะรับฟังรีวิว และคำแนะนำจากคนดังที่พวกเขาชื่นชอบมากกว่า
การตลาดที่ส่งอีเมลจำนวนมากไปยังกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ ตั้งแต่การแจ้งข่าวสาร โปรโมชั่น หรือเสนอส่วนลดพิเศษให้ เหล่านี้ล้วนทำเพื่อโปรโมทสินค้าหรือบริการของธุรกิจ หนึ่งในกลยุทธ์ E-Commerce Marketing ที่ทำกันมานาน แต่ยังคงเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพสูง วัดผลได้แม่นยำ และคาดหวังผลตอบรับได้จริง
ความน่าสนใจของ Email Marketing อยู่ที่สามารถส่งเนื้อหาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายและความสนใจของลูกค้ารายบุคคลได้ ด้วยการแบ่งกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรม ความสนใจ จนถึงข้อมูลเฉพาะตัวอื่น ๆ อย่างเช่น เพศ อายุ สถานที่ตั้ง หรือแม้กระทั่งประวัติการซื้อสินค้า ข้อมูลเหล่านี้ล้วนช่วยให้ธุรกิจเลือกส่งอีเมลได้ตรงใจกับกลุ่มลูกค้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อต่อไป
E-Commerce Marketing วิธีนี้ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาวได้อีก ทั้งการส่งอีเมลเพื่อแจ้งข่าวสาร โปรโมชั่น หรือบทความที่น่าสนใจให้กับลูกค้าเป็นประจำ เหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกผูกพันกับแบรนด์ ทำให้มีโอกาสกลับมาซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำได้ในอนาคต
การทำ E-Commerce Marketing ให้ประสบความสำเร็จย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์อย่างรอบด้าน เพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ และสร้างยอดขายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ด้วยเคล็ด(ไม่)ลับทั้ง 6 ข้อต่อไปนี้ เราเชื่อว่าจะช่วยให้การพัฒนากลยุทธ์ E-Commerce Marketing ของคุณใช้งานได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
Sales Funnel Strategy แนวทางสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าตั้งแต่จุดเริ่มต้น หรือ touch point แรกที่พวกเขาพบเห็นโฆษณาของเรา จนกระทั่งตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ
หลักคิดนี้จะช่วยให้สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพรัดกุม โดยการเลือก "คนที่เหมาะสม ในที่ที่เหมาะสม และในเวลาที่เหมาะสม" เพื่อเพิ่มโอกาสในการเปลี่ยนผู้ที่ไม่รู้จักเราให้กลายมาเป็นลูกค้าที่รักเราได้ แบ่งเป็นภาพกว้าง 4 Stage ต่อไปนี้
สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าลูกค้าในแต่ละขั้นของ Sales Funnel มีความต้องการและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน จึงต้องให้ความสำคัญกับการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าในแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
E-Commerce Tracking เครื่องมือที่ช่วยติดตาม และวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าบนแพลตฟอร์มร้านค้าอีคอมเมิร์ซของเรา ช่วยให้เข้าใจและพัฒนาปรับปรุงได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
Google Analytics หนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูงในการทำ E-Commerce Tracking สำหรับรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ สามารถติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมการช้อปปิ้งของลูกค้าได้ รวมถึงติดตามจำนวนครั้งการทำธุรกรรมหรือการสั่งซื้อสินค้า (Transaction Tracking) ข้อมูลเหล่านี้ล้วนสามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาประสบการณ์การช้อปปิ้งบนเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้
ข้อมูลที่ได้จากการทำ E-Commerce Tracking ไม่เพียงแค่ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คาดการณ์แนวโน้มและความต้องการในอนาคตได้อีก เราสามารถปรับแต่งกลยุทธ์ E-Commerce Marketing ด้วยการสร้างโปรโมชั่นและข้อเสนอที่เฉพาะเจาะจงตามความสนใจ หรือพฤติกรรมการซื้อของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Metrics ตัวชี้วัดที่ใช้วัดผล และประเมินความเป็นไปได้ของแคมเปญการตลาด การเลือกใช้ Metrics ที่เหมาะสมจะช่วยให้รู้ว่าแคมเปญมีประสิทธิภาพแค่ไหน เพื่อปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ E-Commerce Marketing ได้ตามความเหมาะสม
เพราะการทำ E-Commerce Marketing มีข้อดีในเรื่องของการวัดผลที่ง่ายและตรงไปตรงมา เป็นข้อได้เปรียบจากการตลาดแบบออฟไลน์ ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลนี้จะช่วยให้แบรนด์มองเห็นภาพรวมของผลลัพธ์ที่ได้จากงบประมาณที่ใช้ไป
ในโลกของ E-Commerce Marketing การมีโฆษณาที่มีดีไซน์สวยงาม (Good Design) เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ แต่ต้องไปให้ถึง "Great Design" ที่สามารถเพิ่มอัตราการแปลงจากผู้เข้าชมเป็นลูกค้าให้ได้
การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม มีความสำคัญมากต่อการวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Marketing เพราะธุรกิจอีคอมเมิร์ซไม่สามารถจะใช้กลยุทธ์เดียวกันได้ตลอดทั้งปี เนื่องจาก Marketing Calendar ของธุรกิจนี้มีความดิ้นได้ต่างจากธุรกิจอื่น ๆ ด้วยวันสำคัญและโปรโมชั่นพิเศษที่เกิดขึ้นเกือบทุกเดือน
ทำให้การมีแผน E-Commerce Marketing ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละช่วงเวลาจึงเป็นสิ่งจำเป็น ปกติแล้วควรเริ่มวางแผนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนก่อนถึงวัน Shopping Day ที่กำหนด
ตัวอย่างเช่น หากต้องการจัดแคมเปญสำหรับวันที่ 11.11 ในเดือนพฤศจิกายน (ตามสถิติของ Google ถือเป็นวันที่มีการใช้จ่ายออนไลน์สูงสุดของคนไทย) ก็ควรเริ่มติดต่อกับผู้จัดการบัญชีหลักของ Marketplace นั้นตั้งแต่เดือนตุลาคม เพื่อหารือรายละเอียดเกี่ยวกับแคมเปญ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลด คูปอง หรือข้อเสนอพิเศษอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย และรับการสนับสนุนจาก Marketplace พร้อมกับวางแผนว่าจะโปรโมทแคมเปญนี้อย่างไร
การทำ E-Commerce Marketing นั้นต้องการความเชี่ยวชาญจากหลากหลายด้าน ทำให้ต้องทำงานร่วมกันในรูปแบบของทีม ตั้งแต่ผู้ที่ถนัดในการออกแบบและการจัดการโฆษณา เพื่อให้สินค้าของเราโดดเด่น และไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนี้ ยังต้องการผู้ดูแลเว็บไซต์ที่สามารถทำให้ลูกค้าที่คลิกเข้ามาจากโฆษณา เลือกซื้อสินค้าและชำระเงินเองได้อย่างไม่ยากเย็น พร้อมทั้งต้องติดตามการเข้าชมเว็บไซต์กับพฤติกรรมของลูกค้าอีกด้วย
การจะทำทุกอย่างด้วยตัวเองอาจเป็นไปได้ แต่คงไม่ใช่สำหรับทุกธุรกิจ การฝืนทำอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดให้มีอะไรผิดพลาดสูงมาก อีกทั้งยังทำให้เริ่มได้ช้ากว่าคู่แข่ง เป็นเหตุผลที่หลายแบรนด์เลือกที่จะหาพาร์ตเนอร์ที่เชี่ยวชาญในด้านนี้ เพื่อมาสนับสนุนในส่วนที่ยังทำเองไม่ได้
สรุปแล้ว E-Commerce Marketing นั้นคือการใช้กลยุทธ์ เทคนิค และเครื่องมือทางออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามายังร้านค้าอีคอมเมิร์ซ และเปลี่ยนแปลงการเข้าชมเหล่านั้นให้เป็นยอดขาย ครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการโปรโมทสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล
การทำ E-Commerce Marketing นั้น ธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายในการทำการตลาดให้ชัดเจน อย่างเช่น ต้องการเป็นที่รู้จักในกลุ่มเป้าหมายใด หรือต้องการกระตุ้นให้เกิดยอดขายเท่าไหร่ จากนั้นถึงเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับธุรกิจ และเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้