April 24, 2024
ข้อมูลจากหลายสำนัก รายงานว่าในปี 2024 มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากถึง 5.3 พันล้านคน หรือประมาณ 67% ของประชากรโลก ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการ นักกิจกรรม หรือบล็อกเกอร์ ‘เว็บไซต์ (Website)’ ก็สามารถช่วยสื่อสาร โปรโมท หรือขายสินค้าและบริการได้อย่างเป็นธรรมชาติ การมีเว็บไซต์ยังใช้สร้างความน่าเชื่อถือกับความประทับใจให้กับผู้ใช้ได้อีกด้วย
ปัจจุบัน การจะสร้างเว็บไซต์ นั้นมีวิธีและเครื่องมือเยอะมากที่ทำได้ ตั้งแต่ระบบเขียนโค้ดด้วยตนเอง ไปจนถึงระบบสำเร็จรูปที่เน้นให้ใช้งานง่าย แต่สองแพลตฟอร์มที่ใช้สร้างเว็บไซต์แล้วได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คือ Webflow กับ WordPress
“แล้วควรเลือกแพลตฟอร์มไหนสร้างเว็บละ ระหว่าง Webflow กับ WordPress”
บทความนี้ พวกเรา Foxbith เลยจะขอเปรียบเทียบ Webflow VS WordPress ในหลาย ๆ ด้าน อย่างความยากง่ายในการใช้ การออกแบบปรับแต่ง ข้อดี/ข้อเสีย และราคาใช้จ่าย (Plans & pricing) รวมถึงการรองรับ SEO เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพชัด ว่าตนเองเหมาะกับแพลตฟอร์มไหนมากกว่า หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ
ก่อนจะไปหัวข้อเปรียบเทียบ Webflow VS WordPress เราขออธิบายก่อนว่าทั้งสองแพลตฟอร์มคืออะไร เพื่อทำความรู้จักและเข้าใจมากขึ้นกันก่อน
Webflow คือ แพลตฟอร์มสร้างและออกแบบเว็บไซต์แบบ Drag-and-Drop ที่ทำงานบนระบบ Cloud สามารถสร้างเว็บได้โดยไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโค้ด HTML, CSS หรือ JavaScript เพราะผู้พัฒนา Webflow มุ่งเน้นที่เครื่องมือให้ใช้งานง่าย มีประสิทธิภาพสูง และตอบสนองแบบ responsive ใช้งานจริงได้บนทุกอุปกรณ์
WordPress คือ ระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (Content Management System หรือ CMS) แบบ Open source ที่ได้รับความนิยมสูงบนอินเทอร์เน็ต พัฒนาขึ้นโดยภาษา PHP สำหรับจัดการข้อมูล และใช้ภาษา HTML, CSS, JavaScript สำหรับส่วนแสดงผล ถูกออกแบบให้ใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ทำให้จัดการและปรับแต่งข้อมูลได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมภายนอก ทั้งยังมี Plugin กับ Theme หลากหลายให้เลือกใช้ ตามรูปแบบของเว็บไซต์ที่ต้องการ
‘การใช้งานจะยากหรือง่ายนั้น ล้วนขึ้นอยู่กับความรู้และทักษะของผู้ใช้เป็นสำคัญ’ แต่หากพิจารณาจากคุณสมบัติพื้นฐานแล้ว Webflow จะมีข้อได้เปรียบเรื่องความง่าย และการใช้งานแบบ User-Friendly ดีกว่า WordPress
ด้วยระบบ Visual Builder แบบ Drag-and-Drop นักพัฒนาเว็บที่ใช้ Webflow จะสามารถดึงเอาองค์ประกอบต่าง ๆ อย่าง ภาพ ข้อความ ปุ่มคำสั่ง ฯลฯ จากบริเวณ Elements ลากมาวางบนหน้าเว็บได้โดยตรง อีกทั้งยังมีระบบ CSS Visual Styling ที่ช่วยให้ผู้ใช้ปรับแต่งสีสัน ฟอนต์ และองค์ประกอบทางการออกแบบได้ง่ายดาย ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้เรื่อง Coding สามารถสร้างและแก้ไขเว็บไซต์ด้วยตนเองได้
ในทางตรงกันข้าม, WordPress นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้ยากกว่า เพราะมีระบบตัวเลือกการตั้งค่าต่าง ๆ ที่ค่อนข้างซับซ้อน ผู้ใช้อาจต้องอาศัยเวลาศึกษาและฝึกฝน เพื่อให้คุ้นเคยกับทุกเครื่องมือ ส่วนด้านการออกแบบและปรับแต่งเว็บไซต์ ถึงแม้จะมี Theme กับ Plugin มากมายให้เลือก แต่ยังจำเป็นที่จะต้องมีความรู้การเขียนโค้ดเบื้องต้นอยู่บ้าง เพื่อให้สามารถปรับแต่งเนื้อหาและองค์ประกอบอื่น ๆ ของเว็บไซต์ได้อย่างลงตัว
ด้านการออกแบบและปรับแต่งเว็บไซต์ ของทั้ง Webflow และ WordPress ต่างก็มีจุดเด่นและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน ต่อไปนี้
Webflow
WordPress
“Search Engine Optimization หรือ SEO เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้สำหรับการสร้างเว็บไซต์ในปัจจุบัน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เราเล็งไว้พบเจอเว็บไซต์ที่เราทำ”
Webflow กับ WordPress ทั้งสองแพลตฟอร์มถูกขึ้นชื่อเรื่องการปรับปรุงเว็บไซต์ ให้เป็นมิตรกับระบบค้นหา (Search Engine) ดีอยู่แล้วทั้งคู่ แต่ยังมีความต่างกันอยู่บ้างในบางเรื่อง
ปี 2024 นี้ WordPress ถือเป็นผู้นำด้านการปรับแต่ง SEO อย่างแท้จริง เพราะเป็นระบบที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงมาอย่างยาวนาน ทำให้มีปลั๊กอินกับเครื่องมือที่สนับสนุนการปรับปรุงเว็บไซต์จำนวนมาก อย่างเช่น Yoast SEO, All in One SEO, RankMath ฯลฯ แถมยังได้อิสระควบคุมปรับแก้ HTML, URL structures และองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องได้อย่างละเอียด เพื่อรองรับสำหรับการจัดอันดับบนทุกระบบการค้นหา
ในทางกลับกัน Webflow นั้นถือเป็นระบบจัดการเว็บไซต์ที่ค่อนข้างใหม่ เมื่อเทียบกับ WordPress อาจยังมีข้อจำกัดในการสนับสนุน SEO อยู่บ้างบางคุณสมบัติ ถึงแม้ว่าจะปรับได้ไม่ละเอียดเท่า WordPress แต่ Webflow ก็ยังสามารถแก้ไขปัจจัยหลัก ๆ ที่สำคัญต่อการทำ SEO ได้อย่างครบถ้วน ด้วยเครื่องมือปรับแต่ง SEO ในตัว เช่นการกำหนด Title tag, Meta description, Alt text รูปภาพ, Sitemap ฯลฯ
เช่นเดียวกับเครื่องมือและแพลตฟอร์มการสร้างเว็บไซต์อื่น ๆ ทั้ง Webflow และ WordPress ล้วนก็มีข้อดีกับข้อเสียที่ต่างกันอยู่บ้าง ต่อไปนี้
ข้อดี (Pros)
ข้อเสีย (Cons)
ข้อดี (Pros)
ข้อเสีย (Cons)
อีกปัจจัยนึงที่สำคัญ หากต้องเลือกระหว่าง Webflow หรือ WordPress เพราะแต่ละแพลตฟอร์มจะมีราคาค่าบริการ และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมส่วนอื่นที่แตกต่างกัน ต่อไปนี้
Webflow มีแผนคิดราคาผู้ใช้สองประเภทคือ Site plans กับ Workspace plans
กรณีที่เป็น Enterprise หรือองค์กรขนาดใหญ่ ทาง Webflow จะมีแผนราคาพิเศษให้ แต่จะต้องติดต่อฝ่ายสนับสนุน Webflow เพื่อขอใบเสนอราคาสำหรับแผนนี้ครับ
ขณะที่ WordPress นั้นเป็นซอฟต์แวร์ Open source ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรี แต่ต้องจัดหาและจ่ายค่าโฮสติ้งเว็บกับโดเมนด้วยตัวเอง ราคาโดยประมาณ $5-$20/เดือน และอาจต้องจ่ายเพิ่มเติมสำหรับ Plugin กับ Theme ที่เป็น Premium อีกประมาณ $20-$100/ปี ขึ้นอยู่กับจำนวนและความจำเป็นในการใช้ปลั๊กอิน
หลังจากร่ายยาวเรื่อง Webflow VS WordPress มาหลายหัวข้อ ในส่วนนี้เราขอมาสรุปให้รวบรัดและเข้าใจง่ายขึ้น ตามด้านล่างนี้
การเรียนรู้ใช้งาน เข้าใจการใช้งานง่าย ด้วยการลากวางแบบ Drag-and-Drop
การออกแบบ และปรับแต่ง Visual canvas builder
SEO รองรับ SEO ได้เป็นอย่างดี แต่ปรับแต่งได้เฉพาะส่วนหลัก ๆ ที่ Webflow กำหนดให้ทำได้เท่านั้น
E-Commerce ราคาแผนเว็บไซต์ทั่วไป จะยังไม่มีคุณสมบัตินี้ติดมา แต่มีแผนแยกอีกราคา สำหรับสร้างเว็บขายสินค้า E-commerce โดยเฉพาะราคาแผนเว็บไซต์ทั่วไป จะยังไม่มีคุณสมบัตินี้ติดมา แต่มีแผนแยกอีกราคา สำหรับสร้างเว็บขายสินค้า E-commerce โดยเฉพาะ
ประสิทธิภาพ ตอบสนองได้เร็วบนทุกอุปกรณ์
ส่วนเสริม ไม่รองรับการใช้ Theme กับ Plugin ได้หลากหลายเหมือน WordPress เพราะถูกจำกัดการใช้ได้เท่าที่ Webflow กำหนดเท่านั้น
Hosting & Domain ภายในตัวแพลตฟอร์ม Webflo
ค่าใช้จ่าย มีค่าสมาชิกทั้งรายเดือน และรายปีในการใช้งาน Webflow และราคาจะขึ้นอยู่กับแพคเกจที่เลือก
การเรียนรู้ใช้งาน อาศัยการฝึกใช้ทุกเครื่องมือให้เข้าใจ ก่อนปรับแต่งขั้นสูงใด ๆ
การออกแบบ และปรับแต่ง Theme กับ Page builder
SEO ปรับแต่ง SEO ได้ละเอียด ด้วยการใช้ส่วนเสริม Plugin ต่าง ๆ เข้ามาช่วย
E-Commerce เป็นส่วนเสริมอย่างนึง ที่มีทั้งแบบใช้งานฟรี และแบบจ่ายตังค์
ประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าและปรับแต่ง Theme/Plugin
ส่วนเสริม มี Plugin ส่วนเสริมให้เลือกใช้กว่าหมื่นรายการ ทั้งแบบฟรีและจ่ายตัง
Hosting & Domain ต้องจัดหาและจัดการเอง มีอิสระในการเลือกผู้ให้บริการ
ค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน หรือรายปีให้กับ WordPress แต่มีค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ตั้งแต่ค่า Hosting, โดเมนเนม, Theme และ Plugin
ที่พวกเรา Foxbith เลือกใช้ Webflow ในการสร้างเว็บไซต์ให้กับลูกค้า เหตุผลคือความสะดวกในการใช้เครื่องมือภายในตัวแพลตฟอร์ม ที่ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงเพื่อทำงานร่วมกับคุณสมบัติแบบลากวาง หรือ Drag-and-Drop ทั้งยังใช้งานได้รวดเร็ว ไม่มีปัญหาหน่วง หรือค้างให้เจอกันประจำ
ในช่วงแรก เราเคยเลือกใช้ WordPress สร้างเว็บไซต์มาก่อน, ถึงแม้จะเป็นแพลตฟอร์มฟรี ที่อนุญาตให้ปรับแต่งในระดับลึก แต่การเข้าถึงคุณสมบัติที่ว่า จะต้องจ่ายตังค์รายเดือนหรือรายปี ให้กับผู้พัฒนา Theme หรือ Plugin นั้น ๆ ทำให้สุดท้ายรายจ่ายอาจสูงมากกว่าการใช้ Webflow ไปหลายเท่าตัว
ตามที่กล่าวไปทีแรก จะเห็นว่าการเลือกใช้ Webflow นั้น สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในภาพรวมได้ด้วย เพราะทาง Webflow จะจัดการได้ทั้งหมดภายในตัว ตั้งแต่การเช่าเซิร์ฟเวอร์ จดทะเบียนโดเมน หรือแม้แต่ส่วนเสริมสำคัญต่าง ๆ ก็มีให้อย่างครบครัน ไม่ต้องหาติดตั้ง Plugin ให้วุ่นวายเลยครับ
สรุปแล้ว Webflow VS WordPress หากถามว่า ‘ควรเลือกแพลตฟอร์มไหนสร้างเว็บไซต์ดีกว่า’ คำถามนี้จะไม่สามารถตอบแน่ชัดได้ เพราะการสร้างเว็บไซต์ซักเว็บนึง ต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ พื้นฐานความรู้ และข้อจำกัดของแต่ละธุรกิจหรือบุคคลด้วย เพราะทั้งสองแพลตฟอร์มก็ล้วนมีทั้ง ข้อดี/ข้อเสีย ที่แตกต่างกัน
“ไม่ว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์มใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือการศึกษาและวางแผนอย่างละเอียดล่วงหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินใจจะเป็นไปอย่างรอบคอบ แล้วสอดคล้องกับความต้องการ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”
ในปี 2024 หากต้องการสร้างเว็บไซต์ที่พร้อมใช้งาน ภายในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วโครงสร้างทั้งหมดไม่มีความซับซ้อนมากนัก แต่เน้นด้านประสิทธิภาพและความสวยงามน่าใช้ Webflow จะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์กว่า WordPress
แต่สำหรับธุรกิจหรือองค์กรขนาดใหญ่ ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ที่มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งได้อย่างละเอียดเต็มรูปแบบ หรือถ้าเป็นนักพัฒนาเว็บที่มีพื้นฐานการ Coding ดีอยู่แล้ว การเลือกใช้งาน WordPress อาจจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า เพราะมีกลุ่มชุมชนนักพัฒนาเว็บไซต์ด้วย WordPress ขนาดใหญ่อยู่ทั่วโลก การขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจะทำได้สะดวกกว่า