เริ่มต้นด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์และความต้องการของระบบ IoT โดยการรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้งานและทีมงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขและเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ การวางแผนนี้จะรวมถึงการเลือกประเภทของอุปกรณ์ IoT และการกำหนดคุณสมบัติที่จำเป็นของระบบ เช่น การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ
ในขั้นตอนนี้จะเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบ IoT โดยการกำหนดโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบนี้จะรวมถึงการเลือกเทคโนโลยีและโปรโตคอลที่เหมาะสมสำหรับการสื่อสาร การพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการสร้างโครงสร้างการรักษาความปลอดภัยเพื่อปกป้องข้อมูลและระบบจากการโจมตี
ดำเนินการพัฒนาและบูรณาการส่วนประกอบต่างๆ ของระบบ IoT โดยการสร้างและตั้งค่าอุปกรณ์ IoT การพัฒนาแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ รวมถึงการทดสอบการเชื่อมต่อ และการทำงานร่วมกันของส่วนประกอบต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการ
หลังจากพัฒนาระบบเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำการติดตั้งและตรวจสอบการทำงานของระบบ IoT โดยการติดตั้งอุปกรณ์ในสถานที่จริง และตรวจสอบการทำงานของระบบในสภาพแวดล้อมจริง การวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้เพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบ และเพิ่มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องมีการบำรุงรักษาและอัปเดตระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
ระบบ IoT (Internet of Things) กำลังกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญและขาดไม่ได้ เพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในหลายธุรกิจ โดยทำให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างต่อเนื่องจากโลก Physical สู่โลก Digital ตัวอย่างการใช้ IoT ที่เราพบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น Smart Home, ระบบติดตามรถยนต์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า, หรือระบบติดตามสุขภาพผ่านอุปกรณ์สวมใส่อย่าง Smart Watch ในทางธุรกิจเองก็มีการนำ IoT มาปรับใช้แล้ว เช่น ตู้ ATM, ระบบตู้ขายของอัตโนมัติ (Vending Machine), และระบบติดตามขนส่งที่ส่งข้อมูลสถานะให้ระบบ E-Commerce ได้แบบ Real-Time เป็นต้น จะเห็นได้ว่า IoT มีประโยชน์มากมาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุน ไปจนถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ได้รับประสบการณ์ที่สะดวกและรวดเร็วแบบดิจิทัล
ที่ Foxbith เรามองการพัฒนา IoT เป็นระบบครบวงจรที่รวมการเชื่อมต่อข้อมูลจากเครื่องจักร และคนหน้างาน ทำให้ทีมงานหลังบ้านสามารถวิเคราะห์ และตัดสินใจได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งความท้าทายของการพัฒนา IoT คือการทำให้อุปกรณ์และซอฟต์แวร์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น โดยไม่ขัดขวางงานหลักของผู้ใช้ หากให้เล่ากระบวนการทำงานของระบบ IoT คร่าวๆ เรามองว่า IoT เปรียบเสมือนเซ็นเซอร์ที่ส่งสัญญาณ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งจาก IoT ไปยังฐานข้อมูลผ่านทาง Internet จากนั้น Software จะทำหน้าที่ควบคุม และตรวจสอบการทำงานของ IoT และสุดท้ายคือการใช้ BI (Business Intelligence) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจ ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป Feedback Loop จะไม่สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจ ระบบ IoT จึงไม่ได้มีแค่การทำ Hardware เท่านั้น แต่ต้องออกแบบให้ครอบคลุมทุกส่วนตั้งแต่การเก็บข้อมูลจนถึงการวิเคราะห์