Employee Experience Platform คืออะไร และทำไมถึงสำคัญที่สุดในองค์กรยุคดิจิทัล

February 7, 2025

Employee Experience Platform คืออะไร และทำไมถึงสำคัญที่สุดในองค์กรยุคดิจิทัล

หนึ่งในปัญหาที่พบเจอมากที่สุดในองค์กรยุคปัจจุบันคือพนักงานในองค์กรเกิดอาการ Burnout เนื่องจากหลากหลายเหตุผลไม่ว่าจะเป็นการทำงานหนักเกินไปและไม่มีเวลาพัก การขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะ หรือไม่ว่าจะเป็นการขาดความชัดเจนในเป้าหมายผลลัพธ์ เหตุผลต่างๆ เหล่านี้เป็นส่วนที่ทำให้พนักงานองค์กรในยุคปัจจุบันเกินอาการ Burnout กันง่ายมากขึ้น แล้วจะทำยังไงให้พนักงานองค์กรในปัจจุบันไม่เกิดอาการหมดไฟ หนึ่งในวิธีการที่องค์กรยุคใหม่หลายๆ องค์กรมักใช้กันคือการใช้ Employee Experience Platform มาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กร บทความนี้จะอธิบายว่า Employee Experience Platform คืออะไร และมีบทบาทสำคัญอย่างไรในการพัฒนาองค์กรในยุคดิจิทัล  

Employee Experience Platform คืออะไร?

Employee Experience Platform คือซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยองค์กรสร้างและบริหารจัดการประสบการณ์ของพนักงานให้ดีขึ้น ตั้งแต่การสื่อสาร การเรียนรู้ การติดตามผล ไปจนถึงการสร้างความผูกพัน โดยแพลตฟอร์มนี้จะรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Employee Data Platform หรือข้อมูลจากเว็บไซต์ภายในองค์กร (Employee Web) เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทำให้ทุกฝ่ายสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เหตุผลที่ทำให้ Employee Experience Platform สำคัญ

1.ช่วยให้ทำงานสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แพลตฟอร์มช่วยจัดระเบียบการทำงานให้เป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งข่าว การเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ หรือการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

2.ช่วยผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ
แพลตฟอร์มให้ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการและปัญหาของพนักงานแบบชัดเจน ทำให้การวางแผนเป็นไปได้อย่างแม่นยำ

3.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร
Employee Experience Platform ทำให้พนักงานรู้สึกว่าองค์กรให้ความสำคัญและใส่ใจ ทำให้เกิดความผูกพันและเพิ่มความไว้วางใจ

ฟีเจอร์สำคัญของ Employee Experience Platform

1.ระบบการสื่อสารภายในที่มีประสิทธิภาพ
ช่วยให้ทีมสามารถติดตามข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ในที่เดียว เช่น การแจ้งข่าวสาร การส่งฟีดแบค และการแชร์เอกสารภายใน Employee Web

2..การพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ (Learning & Development)
แพลตฟอร์มที่รวมคอร์สฝึกอบรมและเนื้อหาเสริมทักษะ เพื่อช่วยส่งเสริมศักยภาพพนักงานและสร้างความพร้อมในเส้นทางอาชีพของพวกเขา

3.การติดตามผลการทำงาน (Performance & Feedback)
ช่วยให้การตั้งเป้าหมาย การรีวิวผลการทำงาน และการให้ฟีดแบคทำได้ง่ายและเป็นระบบ ช่วยลดปัญหาความไม่ชัดเจนและลดความเสี่ยงในการเกิดอาการหมดไฟ (Burnout)

4.การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Insights & Analytics)
Employee Data Platform ช่วยเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงกระบวนการทำงาน ป้องกันปัญหาความเหนื่อยล้า และวางแผนปรับปรุงประสบการณ์การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของ Employee Experience Platform ในองค์กรยุคดิจิทัล

Employee Experience Platform ช่วยเพิ่มความพึงพอใจและประสิทธิภาพของพนักงาน ลดปัญหา Burnout ด้วยการเข้าถึงข้อมูลผ่าน Employee Web ที่สะดวก การฝึกอบรมออนไลน์เสริมทักษะ และการใช้ Employee Data Platform เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานและเสริมความผูกพันในองค์กร

1.สนับสนุนประสบการณ์การทำงานที่ดี: ทำให้พนักงานรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนและเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วผ่าน Employee Web ที่ช่วยเชื่อมโยงการทำงานในทุกแผนกและลดขั้นตอนที่ซับซ้อน

2.เสริมสร้างความเชี่ยวชาญและทักษะ: แพลตฟอร์มช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะผ่านระบบที่รวมการฝึกอบรมและคอร์สออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถให้พนักงานเติบโตในสายงานของตน

3.ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัย: การเก็บข้อมูลของพนักงานจาก Employee Data Platform ต้องมีความปลอดภัยสูงและใช้งานได้อย่างมีความโปร่งใส ทำให้พนักงานมั่นใจในความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

4.ส่งเสริมความผูกพันและลดปัญหาการลาออก: เมื่อพนักงานรู้สึกว่าองค์กรใส่ใจและให้ความสำคัญ จะส่งผลให้เกิดความไว้วางใจและลดอัตราการลาออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่าง Employee Experience Platform ที่เป็นที่นิยม

1.Workday: โดดเด่นเรื่องการบริหารจัดการข้อมูลพนักงานและการรายงานผล

2.Qualtrics EmployeeXM: ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลและการสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน

3.Microsoft Viva: แพลตฟอร์มที่ผสานรวมกับ Microsoft 365 เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

การประยุกต์ใช้ Employee Experience Platform ในองค์กร

การประยุกต์ใช้ Employee Experience Platform ในองค์กรนั้นสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการวางแผนขั้นตอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพดังนี้:

1.การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน: ก่อนเริ่มต้น ควรกำหนดเป้าหมายว่าองค์กรต้องการปรับปรุงกระบวนการใด เช่น การสื่อสารภายในทีม หรือการพัฒนาทักษะพนักงาน

2.การอบรมการใช้งานแพลตฟอร์ม: จัดการอบรมให้พนักงานเข้าใจการใช้งานฟีเจอร์ เช่น การติดตามข่าวสาร การให้ฟีดแบค และการเข้าถึงคอร์สเรียนออนไลน์

3.การติดตามและปรับปรุงกระบวนการ: ใช้ฟีเจอร์วิเคราะห์ข้อมูลจาก Employee Data Platform เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์และปรับปรุงกระบวนการตามข้อมูลเชิงลึก

4.การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร: ให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการใช้งานแพลตฟอร์มเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ทีมงานใช้งานอย่างต่อเนื่อง

การประยุกต์ใช้ Employee Experience Platform ช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการต่าง ๆ เพิ่มความคล่องตัว และส่งเสริมความผูกพันในองค์กรอย่างยั่งยืน ถึงแม้ว่า Employee Experience Platform จะมีข้อดีมากมาย แต่การนำมาใช้งานอาจต้องเผชิญกับความท้าทาย เช่น การทำให้พนักงานคุ้นชินกับการใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ การจัดสรรเวลาในการอบรมใช้งาน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสำหรับการติดตั้งและบำรุงรักษาองค์กรต้องวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเป็นระบบ

สรุป

Employee Experience Platform คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การจัดการประสบการณ์ของพนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมตั้งแต่การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การให้ฟีดแบคแบบเรียลไทม์ และการจัดอบรมที่ส่งเสริมทักษะใหม่ ๆ ทั้งนี้ การเลือกใช้งานแพลตฟอร์มที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ลดปัญหาความไม่พึงพอใจ รวมถึงป้องกันปัญหา Burnout ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความสมดุลระหว่างงานและชีวิต นอกจากนี้ยังส่งเสริมความผูกพันและความไว้วางใจระหว่างพนักงานกับองค์กร ส่งผลให้ธุรกิจมีความยั่งยืนและเติบโตในระยะยาว