เว็บไซต์ (Website) สื่อดิจิทัลที่สำคัญมากกับธุรกิจในยุคนี้อย่างมหาศาล ทั้งช่วยเรื่องความน่าเชื่อถือ สร้างความประทับใจ เพิ่มยอดขายสินค้าและอีกมากมาย แต่การจะทำเว็บไซต์ให้สวย และดีต่อการทำการตลาด มีหลายสิ่งที่หากคุณไม่มีความรู้ก็อาจทำให้ต้องเสียเวลา แถมผลลัพธ์ก็ไม่ได้ตรงกับที่คุณต้องการ เราขอแนะนำให้คุณหามืออาชีพมาช่วยในเรื่องนี้ครับ แล้วถ้าต้องจ้างมืออาชีพมาช่วยทำหละ จะมีค่าใช้จ่ายกับเรื่องที่ต้องรู้อะไรบ้าง มาดูคำตอบกัน
บริการรับทำเว็บไซต์ 3 รูปแบบ
การจ้างทำเว็บไซต์เป็นทางเลือกที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะช่วยให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้ง่าย มีประสิทธิภาพ และเร็ว
โดยบริการที่รับทำเว็บไซต์สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบต่อไปนี้
1. จ้างพนักงานประจำทำเว็บไซต์
งบประมาณ 25,000 - 50,000 บาท/เดือนรายคน (ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่จ้าง)
การจ้างบุคคลหนึ่งมาทำงานเป็นพนักงานประจำของบริษัท เพื่อทำหน้าที่ดูแลเว็บไซต์ของบริษัททั้งหมดในระยะยาว ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนา จนถึงการดูแลรักษาเว็บไซต์ การจ้างเพียงคนเดียวมาทำทุกส่วนงาน อาจทำให้พนักงานไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ตามปกติควรจะต้องมีทีมงานฝ่ายนี้ 3-5 คนขึ้นไปตามหน้าที่แยกย่อย จึงมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
ข้อดี จ้างพนักงานประจำทำเว็บไซต์
- มีเวลาให้กับ requirement ได้ 100% เพราะเป็นบุคลากรที่จ้างมาเพื่อทำงานนี้โดยเฉพาะ
- ง่ายต่อการสื่อสารหรือบรีฟงานได้รวดเร็ว เพราะทำงานอยู่ด้วยกัน เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการปรับเปลี่ยนบ่อย
- การมีพนักงานมาช่วยดูแลเรื่องเว็บโดยเฉพาะ สามารถช่วยดูแลหลังพัฒนาได้ด้วย เช่นการอัพเดท content
ข้อพิจารณา ก่อนตัดสินใจ
- ต้นทุนสูง เนื่องจากต้องจ้างพนักงานมาประจำ จึงมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกจากเงินเดือนที่ต้องจ่ายเพิ่มเติม
- มีความรู้ที่จำกัด เพราะพนักงานที่เป็น Web developer ก็อาจจะ focus ที่การทำเว็บไซต์เพียงเท่านั้น ในขณะที่อาจต้องใช้ความรู้เรื่องการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
- จัดการ resource ได้ไม่มีประสิทธิภาพ หากต้องการทำเว็บไซต์เพียงครั้งเดียว การจ้างคนมาทำประจำอาจไม่คุ้ม
2. จ้างทำเว็บไซต์กับฟรีแลนซ์ (Freelance)
งบประมาณ 10,000 - 50,000 บาท
หากมีงบประมาณที่จำกัด การเลือกบริการทำเว็บไซต์กับฟรีแลนซ์ อาจเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลที่สุด เพราะฟรีแลนซ์มีเรทบริการรับทำเว็บไซต์ที่หลากหลาย ตั้งแต่หลักพันถึงหลักหมื่นบาท ซึ่งหาได้ง่ายบนแพลตฟอร์มรวมฟรีแลนซ์เช่น Fastwork.co
การจ้างฟรีแลนซ์ทำเว็บไซต์ ก็ถือเป็นทางเลือกนึงที่น่าสนใจแต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นใครก็ได้ แต่อาจต้องมีหลักในการเลือก ด้วยการขอดูผลงานที่เคยทำ กระบวนการทำงาน หรือสอบถามจากคนที่เคยใช้บริการมาก่อน เมื่อได้ข้อมูลเพียงพอจึงค่อยตัดสินใจ
ข้อดี จ้างทำเว็บไซต์กับฟรีแลนซ์
- ราคาไม่สูง เพราะคิดตาม project ที่ทำ ราคาไม่สูง เพราะประเมินราคาตาม requirement ที่ต้องทำ
- มีความยืดหยุ่น กรณีมีโปรเจกต์ที่ต้องการให้ทำเป็นครั้งคราว
- มีทักษะที่เฉพาะด้าน โดยทั่วไป freelance จะมีความรู้เฉพาะด้านและลึก สามารถให้คำปรึกษากับผู้ว่าจ้างได้เลย
ข้อพิจารณา ก่อนตัดสินใจ
- ความน่าเชื่อถือ freelance บางคนอาจขาดวินัยเรื่องการคุมงานให้ส่งทันตาม deadline
- ขาดเรื่อง CAP การทำงาน เพราะมีเพียงคนเดียวหรือสองคน อาจไม่พร้อมรับโปรเจกต์ขนาดใหญ่
- ความเสี่ยงในการบริหารงาน กรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด อาจส่งผลกระทบต่อไทม์ไลน์การทำงาน เพราะมี freelance เพียงคนเดียวที่ต้องรับผิดชอบตลอดทั้งโปรเจกต์
3. จ้างทำเว็บไซต์กับ Web Development หรือ Agency Foxbith
งบประมาณ 100,000 - 1,000,000 บาทขึ้นไป
หากเป็นโปรเจกต์ทำเว็บไซต์ขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนสูง ที่ต้องทำหน้า Page ตั้งแต่ 20-100 หน้า การทำเว็บไซต์กับฟรีแลนซ์หรือบริษัทรับทำเว็บไซต์คงไม่เพียงพออีกต่อไป เหตุผลที่บริษัท Digital Agency มีราคาสูง เพราะไม่ใช่เพียงแค่รับสร้างเว็บไซต์ แต่ยังต้องทำในส่วนของการตลาดกับโฆษณาบนสื่อออนไลน์ (SEO, SEM ฯลฯ) เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ธุรกิจของลูกค้าเติบโตได้อย่างเต็มที่อีกด้วย
ข้อดี จ้างทำเว็บไซต์กับบริษัท ดิจิทัลเอเจนซี่
- มีมืออาชีพที่มีความสามารถหลากหลาย สามารถช่วยให้โปรเจกต์สมบูรณ์ทั้งด้าน design technical และ marketing
- พร้อมรองรับงานที่ scale ใหญ่ได้
ข้อพิจารณา ก่อนตัดสินใจ
- ใช้งบประมาณสูง
- เอเจนซี่บางบริษัท อาจไม่ได้ครอบคลุมบริการทั้งหมดตามที่กล่าวไป ควรคุยรายละเอียดให้ครบถ้วน
- ขาดความยืดหยุ่นในการทำงาน โดยต้องดำเนินไปตามแผนงานที่ตายตัว
จ้างทำเว็บไซต์ ราคาใช้จ่ายเบื้องต้น
- โฮสติ้ง (Hosting) โดยจ่ายให้กับบริษัทที่ให้บริการโฮสต์ (Web Hosting) เพื่อเช่าพื้นที่จัดเก็บไฟล์และฐานข้อมูลของเว็บไซต์บนเซิร์ฟเวอร์ โฮสติ้งทำเว็บไซต์มีราคาเริ่มต้นที่ 500 บาทต่อปี
- ค่าจดทะเบียน Domain Name โดยจ่ายให้กับบริษัทที่รับจดโดเมนเนม เพื่อตั้งชื่อให้กับเว็บไซต์ ราคาจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับนามสกุล (.com .net .org .co.th ฯลฯ) เริ่มต้นที่ 300 - 500 บาทต่อปี
- ค่าพัฒนาเว็บไซต์ (Web Development) ที่ต้องจ่ายให้กับบริษัทหรือฟรีแลนซ์รับทำเว็บไซต์ โดยราคาจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและฟังก์ชันที่ต้องการ มีราคาตั้งแต่ หลักพัน - หลักแสนบาท
- ค่าออกแบบตกแต่งเว็บไซต์ ตามปกติบริษัทหรือฟรีแลนซ์ที่รับทำเว็บไซต์อาจตกแต่งมาให้บางส่วนแล้ว แต่เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ การจ้างนักออกแบบกราฟิกจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
- ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่อาจต้องจ่ายระหว่างพัฒนาหรือหลังจากที่เว็บไซต์เสร็จสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น ค่าดูแลเว็บไซต์ การเพิ่มฟังก์ชันใหม่ หรืออื่น ๆ โดยอาจต่างกันไปตามแต่ละบริษัทหรือฟรีแลนซ์ที่ให้บริการ
ปัจจัยหลักที่มีผลกับราคารับทำเว็บไซต์
การกำหนดราคาทำเว็บไซต์ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยเข้าด้วยกัน ไม่มีราคากลางที่สามารถอ้างอิงได้แน่นอน หลายเคสมักมีการเพิ่มงบระหว่างพัฒนาหรือเกิดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเข้ามาเป็นต้นทุน โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลกับราคารับทำเว็บไซต์ มีตามต่อไปนี้
- ประเภทและความซับซ้อนของเว็บไซต์ ตาม requirement ของลูกค้า ตัวอย่างเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ (Web E-Commerce) หรือเว็บแบบให้ข้อมูล (Web Blog) ต่างก็มีความซับซ้อนที่ต่างกัน ตั้งแต่เรื่องจำนวนหน้าเว็บ ปริมาณเนื้อหา และฟังก์ชันทำงานเฉพาะที่ซับซ้อน ยิ่งเว็บไซต์มีความซับซ้อนมากขึ้นเท่าไร ต้นทุนการพัฒนาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
- ดีไซน์ความสวยงาม ปัจจัยที่ทำให้เว็บไซต์ตรึงคนดูไว้ได้อยู่หมัด และสะท้อนถึงแบรนด์ธุรกิจได้เป็นอย่างดีผ่านการออกแบบที่ดูโดดเด่นน่าสนใจ การที่เว็บต้องการใช้ภาพกราฟิกหรือวิดีโอสั้นประกอบข้อมูลนั้น มักจะมีราคาสูงกว่าการออกแบบเว็บไซต์ทั่วไป
- ระยะเวลาการพัฒนา ปัจจัยส่งผลต่อราคาจ้างทำเว็บไซต์โดยตรง ยิ่งหากต้องการให้เว็บไซต์เสร็จก่อนกำหนดจากที่ผู้รับจ้างวางแผนไว้ ลูกค้าจำเป็นต้องจ่ายเพิ่มและสูงกว่าปกติ เพื่อให้นักพัฒนาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทำงานล่วงเวลาให้
- ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของผู้รับจ้าง ส่วนมากแล้วบุคคลหรือทีมพัฒนาที่ได้รับการยอมรับว่ามีความเชี่ยวชาญจริง จะมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่า หากมีงบประมาณนึง เราอยากแนะนำให้เลือกบริษัทรับทำเว็บไซต์ หรือดิจิทัลเอเจนซี่ ที่มีผลงานในกลุ่มเว็บไซต์ที่ตรงกับธุรกิจของเรา
บทสรุป
การจ้างทำเว็บไซต์เป็นการลงทุนที่ต้องคำนึงถึงราคาค่าใช้จ่ายอย่างละเอียด ซึ่งต่างกันไปตามรูปแบบของผู้รับทำเว็บไซต์ (ฟรีแลนซ์ บริษัทรับทำเว็บไซต์ และบริษัทดิจิทัลเอเจนซี่) โดยมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประเภทเว็บ ความซับซ้อน และเวลาที่ต้องใช้พัฒนา รวมถึงความเชี่ยวชาญของผู้รับจ้าง ที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่ามีความรับผิดชอบเพียงพอ